Page 79 - สภาพการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จังหวัดพิจิตร พ.ศ.2559
P. 79

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                               71







                       การเพาะปลูก เมื่อประสบปัญหาภัยแล้ง ข้าวที่ปลูกก็ได้รับความเสียหาย และเมื่อไม่มีน้ าก็ไม่สามารถ
                       ปลูกข้าวได้ จากการส ารวจพบว่าเกษตรกรบางรายมีการปรับตัวโดยปลูกพืชชนิดอื่นแทนการปลูกข้าว
                       เช่น การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แทนการท านา การปลูกอ้อย หรือการปลูกกล้วยแทนการท านาในเขต
                       อ าเภอบึงนาราง ซึ่งกล้วยก าลังเป็นพืชที่ได้รับความสนใจในอ าเภอบึงนารางเป็นอย่างมาก

                                  5)    แหล่งรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร จังหวัดพิจิตรมีโรงสีข้าวอยู่หลายแห่งกระจาย
                       อยู่ในหลายอ าเภอ เช่น โรงสีบางมูลนากธัญญะ อยู่ในเขตอ าเภอบางมูลนาก บริษัทสิงโตทองไรซ์
                       อินเตอร์เทรด จ ากัด อยู่ในเขตอ าเภอเมืองพิจิตร และหจก.พงษ์ไพโรจน์ไรซ์ จ ากัด อยู่ในเขตอ าเภอ
                       โพธิ์ประทับช้าง เป็นต้น ซึ่งโรงสีข้าวเป็นปัจจัยหนึ่งที่ท าให้เกษตรกรยังคงพื้นที่นาข้าว และมีพื้นที่

                       ใกล้เคียงบางส่วนมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินประเภทอื่น ๆ มาเป็นการใช้ที่ดินเพื่อการปลูกข้าว
                       เพราะเห็นว่ามีแหล่งรับซื้อที่แน่นอน และสะดวกในการขนส่งผลผลิตข้าวขาย นอกจากนี้ยังพบว่า
                       มีการเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ที่ดินพื้นที่นาข้าวไปเป็นพื้นที่ปลูกอ้อยเพิ่มมากขึ้น ในเขตอ าเภอ
                       วชิรบารมี อ าเภอโพธิ์ประทับช้าง และอ าเภอเมืองพิจิตร ถึงแม้ว่าในจังหวัดพิจิตรจะไม่มีโรงงานน้ าตาล

                       แต่พบว่าพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงมีโรงงานน้ าตาลตั้งอยู่ ได้แก่ โรงงานน้ าตาลพิษณุโลก จ ากัด ในเขต
                       อ าเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมีพื้นที่อยู่ใกล้กับอ าเภอที่มีการปลูกอ้อยเพิ่มมากขึ้นของ
                       จังหวัดพิจิตร โรงงานน้ าตาลจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ท าให้มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ปลูกอ้อยเพิ่มขึ้น

                            4.3.3  ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ ราคาผลผลิตทางการเกษตร ความต้องการของตลาด
                       และการเห็นแบบอย่างที่ประสบความส าเร็จ
                                  1)    ราคาผลผลิตทางการเกษตร เป็นปัจจัยส าคัญอย่างหนึ่งที่ท าให้เกษตรกรตัดสินใจ
                       ปลูกพืชแต่ละชนิด เนื่องจากเกษตรกรต้องการปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนสูง เพื่อเป็นการสร้างรายได้ที่
                       มั่นคงให้กับครอบครัว เห็นได้จากการผลิตข้าวนาปีของประเทศ ใน พ.ศ. 2554/2555-2558/2559

                       เนื้อที่ปลูกและผลผลิตลดลงจาก 65.30 ล้านไร่ ผลผลิต 25.87 ล้านตันข้าวเปลือก ใน พ.ศ. 2554/2555
                       เหลือ 58.06 ล้านไร่ ผลผลิต 24.31 ล้านตันข้าวเปลือก ใน พ.ศ. 2558/2559 หรือลดลงร้อยละ 2.97
                       และร้อยละ 1.59 ต่อปี ตามล าดับ ทั้งนี้เนื่องจากเกษตรกรที่เคยขยายเนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มในพื้นที่ว่างเปล่า

                       ในช่วงที่ราคาข้าวให้ผลตอบแทนสูง พ.ศ. 2555-2556 ได้ลดพื้นที่ดังกล่าวลง ใน พ.ศ. 2557 รวมทั้ง
                       ราคาข้าวมีแนวโน้มลดลงเป็นไปตามกลไกลตลาด ส่งผลให้เกษตรกรบางส่วนปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น
                       ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า เช่น เกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดเลย หนองบัวล าภู สกลนคร
                       ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ และบุรีรัมย์ ปรับเปลี่ยนไปปลูกอ้อยโรงงาน ซึ่งโรงงานน้ าตาล มีความต้องการ

                       ส่งเสริมการปลูกอ้อยโรงงานเพิ่มขึ้น และเกษตรกรเห็นว่าเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนดี  มีแหล่งรับซื้อ
                       แน่นอน (ส านักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร, 2559) เป็นต้น จังหวัดพิจิตรเป็นแหล่งผลิตข้าวที่ส าคัญ
                       จังหวัดหนึ่งของประเทศ จากราคาผลผลิตข้าวที่ตกต่ า ส่งผลให้จังหวัดพิจิตร ใน พ.ศ. 2559 มีพื้นที่
                       นาข้าวลดลงจาก พ.ศ. 2556 โดยพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่นาข้าวไปปลูกอ้อย กล้วย มะม่วง และ

                       ส้มโอ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งพืชดังกล่าวให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า จึงสามารถสร้างรายได้ที่ดีให้กับเกษตรกร
                                  2)  ความต้องการของตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถือเป็นปัจจัยที่ส าคัญ
                       ที่มีผลต่อการก าหนดราคา การรับซื้อของตลาด และการผลิต ซึ่งมีผลต่อการวางแผนปลูกพืชนั้น ๆ
                       ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด จากการส ารวจพื้นที่พบว่าจังหวัดพิจิตรมีพื้นที่ปลูกมะม่วง

                       เพิ่มมากขึ้น จากการสอบถามเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงให้ข้อมูลว่า มะม่วง ได้แก่ พันธุ์น้ าดอกไม้สีทอง
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84