Page 125 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 125

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          103



                                - ดินที่มีความเหมาะสมดี/เหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องดินร่วนเหนียวปนทราย
                  ดินร่วนเหนียว ดินเหนียว และการยึดตัวของดินชื้น (1/2su) ได้แก่ ชุดดินเขมราฐ
                                - ดินที่มีความเหมาะสมดี/ไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดในเรื่องปริมาณชิ้นส่วนหยาบร้อยละ 15 - 35

                  โดยปริมาตร (1/3g) ได้แก่ ชุดดินเชียงคาน
                                - ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องการยึดตัวของดินชื้น/ไม่เหมาะสม
                  มีข้อจํากัดในเรื่องปริมาณชิ้นส่วนหยาบร้อยละ 15 - 35 โดยปริมาตร (2u/3g) ได้แก่ ชุดดินเรณู
                                - ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องดินร่วนเหนียว และความลาดชัน 5 – 12
                  เปอร์เซ็นต์/ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง มีข้อจํากัดในเรื่องปริมาณชิ้นส่วนหยาบมากกว่าร้อยละ 35 โดยปริมาตร

                  (2st/4g) ได้แก่ ชุดดินวังสะพุง
                                - ดินไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดในเรื่องปริมาณชิ้นส่วนหยาบร้อยละ 15 - 35 โดยปริมาตร/
                  ไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดในเรื่องดินร่วนเหนียว และดินเหนียว (3g/3s) ได้แก่ ชุดดินนาดูน

                                - ดินไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดในเรื่องดินทราย/ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง มีข้อจํากัดในเรื่องปริมาณ
                  ชิ้นส่วนหยาบมากกว่าร้อยละ 35 โดยปริมาตร (3s/4g) ได้แก่ ชุดดินท่าอุเทน
                                - ดินไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง มีข้อจํากัดในเรื่องปริมาณชิ้นส่วนหยาบมากกว่าร้อยละ 35 โดยปริมาตร/
                  เหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องเนื้อดิน และการยึดตัวของดินชื้น(4g/2su) ได้แก่ ชุดดินโพนพิสัย (ภาพที่ 14)

                             เนื่องจากการจําแนกความเหมาะสมทางด้านปฐพีกลศาสตร์ โดยทั่วไปจะประเมินตลอดหน้าตัด

                  ดินจากการแบ่งดินตามชั้นกําเนิดดิน ในกรณีของดินที่มีความไม่ต่อเนื่องทางธรณี (lithological discontinuity)
                  จะต้องพิจารณาในการจัดระดับความเหมาะสมแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ที่เป็นข้อจํากัดต่อการใช้ประโยชน์คนละ
                  ระดับกัน โดยชุดดินนาดูนที่ระดับความลึก 0 - 95 และ 95 - 150 เซนติเมตร ชุดดินเขมราฐที่ระดับความลึก
                  0 - 60/65 และ 60/65 - 125/140 เซนติเมตร ชุดดินพลที่ระดับความลึก 0 - 78 และ 78 - 200 เซนติเมตร

                  ชุดดินท่าอุเทนที่ระดับความลึก 0 - 70/80 และ 70/80 - 130 เซนติเมตร และชุดดินโพนพิสัยที่ระดับความลึก
                  0 - 75 และ 75 - 150 เซนติเมตร

                             นอกจากนี้ ภายในหน้าตัดดินที่มีการจําแนกประเภทของดินตามระบบ USDA, Unified และ
                  AASHO แตกต่างกัน ควรพิจารณาแยกออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ชุดดินเรณูที่ระดับความลึก 0 - 70 และ 70 - 190

                  เซนติเมตร ชุดดินร้อยเอ็ดที่ระดับความลึก 0 - 70 และ 70 - 200 เซนติเมตร ชุดดินวังสะพุงที่ระดับความลึก
                  0 – 50 และ 50 - 100/130 เซนติเมตร และชุดดินเชียงคานที่ระดับความลึก 0 – 45/50 และ 45/50 - 200
                  เซนติเมตร เนื่องจากการจัดเรียงตัวของหน้าตัดดินไม่ต่อเนื่อง จึงไม่สามารถประเมินเป็นระดับเดียวกันได้

                             สะท้อนให้เห็นว่า สามารถเลือกระดับความลึกที่จะนําไปใช้ประโยชน์ได้ โดยชุดดินร้อยเอ็ดที่
                  ความลึก 0 - 70 เซนติเมตร มีความเหมาะสมดี (1) และชุดดินร้อยเอ็ดที่ความลึก 70 - 200 เซนติเมตร มีความ

                  เหมาะสมปานกลาง โดยมีข้อจํากัดในเรื่องเนื้อดิน (2s) โดยมีเนื้อดินเป็นดินร่วน และดินร่วนเหนียว

                  ตารางที่ 42 ความเหมาะสมของดินสําหรับใช้เป็นแหล่งหน้าดินของดินตัวแทนหลัก

                      ระดับความเหมาะสม         ข้อจํากัด      สัญลักษณ์               ชุดดิน

                      เหมาะสมดี         -                         1     ชํานิ ชุมพวง จอมพระ ห้วยแถลง โคราช
                                                                        วาริน ยางตลาด ยโสธร

                      เหมาะสมปานกลาง    ดินร่วนเหนียวปนทราย      2s     บุณฑริก โนนไทย วังไห
                                        ดินร่วนเหนียว ดินเหนียว
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130