Page 124 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 124

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          102



                  2. การจําแนกความเหมาะสมของดินทางด้านปฐพีกลศาสตร์

                        จากผลการศึกษาและจําแนกความเหมาะสมของดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                  สําหรับกิจกรรมด้านปฐพีกลศาสตร์ โดยลักษณะและสมบัติในแต่ละชั้นความลึกดินตามชั้นกําเนิดดินของชุดดิน

                  นั้นๆ ถูกนํามาใช้เพื่อพิจารณาในการจําแนกความเหมาะสม ตามหลักเกณฑ์ของ สุวณี (2538) สรุปได้ดังนี้

                        2.1 ความเหมาะสมของดินสําหรับใช้เป็นแหล่งหน้าดิน

                           การประเมินความเหมาะสมนี้ ยึดตามข้อมูลจากชุดดินตัวแทนหลัก ซึ่งกรณีชุดดินที่มีหลายชั้นความ
                  ลาดชัน จะยึดถือตามความลาดชันที่เป็นหลักของชุดดินนั้น ดังนี้ ชุดดินด่านซ้าย เลย และภูเรือ จะใช้ความ

                  ลาดชัน 5 - 12 เปอร์เซ็นต์เป็นเกณฑ์ หากต้องการทราบความเหมาะสมของชุดดินที่อยู่บนความลาดชัน
                  แตกต่างไป สามารถตรวจสอบได้จากตารางภาคผนวกที่ 18 หรือประเมินใหม่ตามหลักเกณฑ์การประเมินความ
                  เหมาะสมทางด้านปฐพีกลศาสตร์ จากผลการจําแนกความเหมาะสมของดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินสําหรับ
                  การใช้เป็นแหล่งหน้าดิน สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ คือ


                             1) ดินที่มีความเหมาะสมดี (1) สําหรับใช้เป็นแหล่งหน้าดิน ได้แก่ ชุดดินชํานิ ชุมพวง จอมพระ
                  ห้วยแถลง โคราช วาริน ยางตลาด และยโสธร (ตารางที่ 42) เนื่องจากชุดดินดังกล่าวมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปน
                  ทราย ดินร่วน และดินร่วนปนทรายแป้ง โดยมีความหนาของชั้นดินมากกว่า 40 เซนติเมตร ซึ่งถือเป็นวัสดุที่
                  เหมาะสมสําหรับเป็นแหล่งหน้าดิน อีกทั้ง ปริมาณชิ้นส่วนหยาบน้อยกว่าร้อยละ 3 โดยปริมาตร ถือเป็นดินที่มี
                  สัดส่วนของปริมาณเนื้อดินที่เหมาะสมในการขุดและเตรียมดิน อย่างไรก็ตาม ในการประเมินความเหมาะสม

                  ของแหล่งหน้าดินไม่ได้นําระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินมาพิจารณาในการจําแนก ซึ่งหากแหล่งหน้าดินถูก
                  นําไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร อาจคาดคะเนได้ว่าระดับความเหมาะสมของดินอาจลดระดับจากความ
                  เหมาะสมดีเป็นเหมาะสมปานกลาง หรือไม่เหมาะสม


                             2) ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง โดยมีข้อจํากัดในเรื่องเนื้อดิน (2s) โดยมีเนื้อดินเป็นดินร่วน
                  เหนียวปนทราย ดินร่วนเหนียว และดินเหนียว (แร่ดินเหนียวประเภท 1:1) ได้แก่ ชุดดินบุณฑริก โนนไทย และ
                  วังไห ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง โดยมีข้อจํากัดในเรื่องการยึดตัวของดินชื้น (2u) ได้แก่ ชุดดินปักธงชัย
                  และสูงเนิน ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องความลาดชัน (2t) ซึ่งพบอยู่ในพื้นที่ที่มีความ

                  ลาดชัน 5 - 12 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ ชุดดินเลย ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดทั้งเนื้อดิน และการ
                  ยึดตัวของดินชื้น (2su) ได้แก่ ชุดดินบุรีรัมย์ ชุมแพ จัตุรัส กันทรวิชัย นครพนม พล สีคิ้ว ธาตุพนม และท่าตูม
                  และดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดทั้งเนื้อดิน และความลาดชัน (2st) ได้แก่ ชุดดินด่านซ้าย และภูเรือ

                             3) ดินไม่เหมาะสมมีข้อจํากัดในเรื่องเนื้อดิน (3s) โดยมีเนื้อดินเป็นดินทราย ดินทรายปนดินร่วน
                  และดินเหนียว (แร่ดินเหนียวประเภท 2:1) ได้แก่ ชุดดินบ้านไผ่ ชุมพลบุรี จันทึก มหาสารคาม น้ําพอง

                  ศรีสงคราม และอุบล

                             4) ดินไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง มีข้อจํากัดในเรื่องปริมาณเศษหินที่มีขนาดใหญ่กว่าทรายหยาบมาก
                  (4g) โดยมีปริมาณชิ้นส่วนหยาบมากกว่าร้อยละ 35 โดยปริมาตร ได้แก่ ชุดดินปลาปาก

                             นอกจากนี้ ในบางชุดดินตัวแทนหลักมีความแตกต่างในการนําไปใช้เป็นแหล่งหน้าดิน แบ่งออกเป็น
                  2 ส่วน เมื่อพิจารณาตามความลึกชั้นกําเนิดดิน พบว่า

                                - ดินที่มีความเหมาะสมดี/เหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องดินร่วนเหนียวปนทราย
                  ดินร่วนเหนียว ดินเหนียว (1/2s) ได้แก่ ชุดดินร้อยเอ็ด
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129