Page 66 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
P. 66

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       58



                       เหนียวหรือฮิวมัส กลายเป็นโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ ซึ่งยังเป็นประโยชน์ต่อพืชและบางส่วนจะถูก
                       ตรึงอยู่ในซอก หลืบของแร่ดินเหนียวบางชนิด เช่น อิลไลต์และเวอร์มิวไลต์ ซึ่งพืชใช้ประโยชน์ไม่ได้

                       เป็นเหตุให้ความเข้มข้นของโพแทสเซียมไอออนในสารละลายดินที่สูงมากหลังการใส่ปุ๋ยเคมีจะค่อยๆ
                       ลดลง แต่โดยรวมการใส่ปุ๋ยเคมีจะท าให้ความเป็นประโยชน์ของโพแทสเซียมในดินสูงขึ้น (ยงยุทธ,
                       2558)

                              ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตรึงโพแทสเซียมในดิน (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548)

                              (1) ชนิดของคอลลอยด์ต่างๆ ดินที่มีแร่ดินเหนียวชนิด 1:1 type clay จะตรึงโพแทสเซียมได้
                       น้อยกว่าดินที่มีแร่ดินเหนียวชนิด 2:1 type clay

                              (2) การใช้ปูน ท าให้ปริมาณโพแทสเซียมถูกชะละลายน้อยลง ทั้งนี้เพราะแคลเซียมจากปูนจะ
                                                                                             +
                       ไปลดความเป็นกรดของดิน ดินจะอิ่มตัวด้วยแคลเซียม ซึ่งโพแทสเซียมไอออน (K ) สามารถไล่ที่
                                        2+
                       แคลเซียมไอออน (Ca ) ได้ง่ายกว่าไฮโดรเจนไอออน (H ) หรืออะลูมินัมไอออน (Al ) และตัวมันเอง
                                                                     +
                                                                                           3+
                       ถูกดูดซับอยู่ที่อนุภาคดิน จึงท าให้ปริมาณโพแทสเซียมที่ถูกชะละลายโดยน้ าก็น้อยลง ทั้งนี้การใส่ปูน
                       มากเกินไปจะท าให้เกิดการขาดโพแทสเซียมในดินได้
                              (3) อุณหภูมิ เมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นระดับของโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ (exchangeable
                       K) จะสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิมีผลต่อการปลดปล่อยและการตรึงโพแทสเซียม
                              (4) การเปียกและแห้งของดิน การท าให้ดินเปียกและแห้งสลับกัน (alternate wetting and

                       drying) จะช่วยเร่งให้มีการปลดปล่อยหรือตรึงโพแทสเซียมมากขึ้นกว่าการท าให้ดินแห้งเพียงครั้ง
                       เดียว ความเป็นประโยชน์ของโพแทสเซียมต่อพืชจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าขณะท าให้ดินแห้ง
                       เปลี่ยนเป็นดินเปียกดินนั้นมีการตรึงหรือปลดปล่อยโพแทสเซียม ถ้าดินอยู่ในสภาพที่ปลดปล่อย

                       โพแทสเซียม การท าให้ดินเปียกเปลี่ยนเป็นดินแห้งจะท าให้การปลดปล่อยโพแทสเซียมเกิดมากขึ้น
                              การประเมินระดับโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินโดยการวิเคราะห์ดินทางเคมีนั้น อาศัย

                       หลักการที่ว่า โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชส่วนใหญ่ คือ โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้
                       (exchangeable K) การวิเคราะห์จึงเน้นหนักไปในการสกัดโดยอาศัยปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนประจุ
                       (cation exchange) ระหว่างประจุบวกในน้ ายาสกัด ซึ่งท าหน้าที่เป็น replacing cation กับ

                       adsorbed K ที่พื้นผิวของคอลลอยด์ดิน น้ ายาสกัดที่ใช้กันมีอยู่มากมายหลายชนิด เช่น NH4OAc
                       หรือ HCl ที่เจือจาง เป็นต้น การใช้กรดสกัดเป็นการสกัดอย่างรุนแรง อาจมีผลท าให้โพแทสเซียมส่วน
                       ที่เป็นประโยชน์กับพืชอย่างช้าๆ (slowly available K) ถูกปลดปล่อยออกมาด้วย ซึ่งส าหรับบางดิน
                       อาจให้ผลที่ได้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้น แต่ในบางดินอาจให้ผลมากกว่าความเป็นจริง ดังนั้น

                       ห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่จึงนิยมสกัดด้วยสารละลาย NH4OAc pH 7.0

                                                                                              -1
                              ในตารางผลการวิเคราะห์ดินจะรายงานเป็นหน่วยมิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (mg kg ) หมายความ
                       ว่าในดินหนึ่งกิโลกรัมจะมีปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชอยู่กี่มิลลิกรัม ค่านี้จะท าให้ทราบ
                       ว่าปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ที่อยู่ในสารละลายดินมีอยู่มากน้อยเพียงใด จะเป็นประโยชน์
                       ในการพิจารณาใช้ปุ๋ยเพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพราะโพแทสเซียมเป็นธาตุอาหารหลักที่

                       พืชต้องการใช้ในปริมาณมาก ดังกล่าวมาแล้วในข้างต้น การแบ่งระดับความสูงต่ าของปริมาณ
                       ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ แสดงในตำรำงที่ 6
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71