Page 65 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
P. 65

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       57



                       4.4 โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (available potassium)

                              โพแทสเซียมเป็นหนึ่งในธาตุอาหารหลักที่จ าเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เป็นส่วนส าคัญ
                       ส าหรับกระบวนการต่างๆในเซลล์พืช คือ มีอิทธิพลต่อปริมาณแป้ง การเคลื่อนย้ายของแป้งและ

                       น้ าตาล กระบวนการสังเคราะห์แสงและการหายใจ โครงสร้างของเอนไซม์ ปริมาณกรดอินทรีย์ และ
                       ช่วยให้พืชแข็งแรงมีความต้านทานโรคได้ดี ถ้ามีอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้
                       พืชสามารถใช้ธาตุอาหารชนิดอื่น โดยเฉพาะไนโตรเจนได้ดีขึ้น (พจนีย์, 2544) ส่วนใหญ่โพแทสเซียม
                       ในดินจะมาจากการสลายตัวผุพังของหินและแร่ที่มีโพแทสเซียมเป็นองค์ประกอบ แร่ที่ส าคัญได้แก่

                       พวกโพแทสเฟลด์สปาร์ ที่มีแร่ไมโครไคลน์ (microcline) และออร์โทเคลส (orthoclase) กับพวก
                       ไมกา ซึ่งมีแร่มัสโคไวต์ (muscovite) และไบโอไทต์ (biotite) โพแทสเซียมในส่วนนี้มีอยู่ในปริมาณ
                       มากถึง 90-98  % ของโพแทสเซียมที่มีอยู่ในดิน ส าหรับรูปของโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืช มี
                       อยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ

                              1) รูปที่พืชไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทันที (relative unavailable form) คือโพแทสเซียมที่

                       อยู่ในแร่ต่างๆ เช่น เฟลด์สปาร์ และไมกา ซึ่งสลายตัวยาก จะละลายได้โดยน้ าที่มีคาร์บอเนต (CO3 )
                                                                                                       2-
                                 2KAlSi3O8 + H2CO3 + H2O                         H4Al2Si2O8 + K2CO3 + 4SiO2
                                 ละลายยาก                                               ละลายง่าย


                              2) ส่วนที่พืชใช้ประโยชน์ได้อย่างช้าๆ (slowly available form) มีประมาณ 1-10 % ของ
                       โพแทสเซียมทั้งหมด เป็นโพแทสเซียมที่ถูกตรึงอยู่ระหว่างหลืบของอนุภาคดินเหนียวชนิด 2 : 1 เช่น
                       อิลไลต์ เวอร์มิคิวไลต์ และมอนต์มอริลโรไนต์ ซึ่งพืชไม่สามารถใช้ได้ แต่ถ้าถูกปลดปล่อยออกมาให้อยู่

                       ในรูปที่แลกเปลี่ยนได้และอยู่ในสารละลายดินพืชจะสามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้
                              3) ส่วนที่พืชสามารถใช้ประโยชน์ได้ทันที (readily available form) ส่วนนี้จะมีปริมาณน้อย

                       ที่สุดประมาณ 1-2 % ของปริมาณโพแทสเซียมทั้งหมดในดิน ซึ่งเป็นโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้และ
                       อยู่ในสารละลายดิน โพแทสเซียมในสารละลายดินนี้พืชสามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย แต่ก็ถูกชะ
                       ละลายได้ง่ายเช่นเดียวกัน โพแทสเซียมทั้ง 2 รูปนี้ จะมีความสมดุลกัน กล่าวคือ เมื่อพืชดูดดึง

                       โพแทสเซียมในสารละลายดินไปจะเกิดการเสียสมดุล โพแทสเซียมในรูปที่แลกเปลี่ยนได้ก็จะถูก
                       ปลดปล่อยออกมาในสารละลายดินแทน ซึ่งโพแทสเซียมทั้ง 3 รูปนี้ จะมีความสมดุลกัน ดังนี้

                               K แลกเปลี่ยนไม่ได้                        K แลกเปลี่ยนได้                   K ในสารละลายดิน

                               หรือถูกตรึง
                              การเปลี่ยนรูปโพแทสเซียมในดินจะเปลี่ยนกลับไปกลับมาเสมอเพื่อให้เกิดความสมดุล เมื่อพืช
                       ดูดโพแทสเซียมรูปที่เป็นประโยชน์ใช้จนความเข้มข้นลดลง ส่วนที่ไม่เป็นประโยชน์จะค่อยๆปลดปล่อย

                       ออกมา ดินที่มีความสามารถปลดปล่อยออกมาได้ทันทีกับความต้องการของพืช ดินนั้นได้ชื่อว่าสนอง
                       โพแทสเซียมแก่พืชได้ดี ไม่จ าเป็นต้องใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม แต่ถ้าปลดปล่อยช้า พืชจะขาดโพแทสเซียม
                       จ าเป็นต้องชดเชยโดยการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม เมื่อมีการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมลงไปในดิน เช่น
                                                                                       +
                       โพแทสเซียมลอไรด์ (KCl) ปุ๋ยจะละลายและแตกตัวให้โพแทสเซียมไอออน (K ) และคลอไรด์ไอออน
                       (Cl) อยู่ในสารละลายดินเป็นปริมาณมาก ท าให้สมดุลทางเคมีเปลี่ยนไปจากเดิม เพื่อรักษาสมดุลไว้
                         -
                       โพแทสเซียมไอออนในสารละลายดินส่วนมาก จะเคลื่อนย้ายไปดูดซับกับประจุลบที่ผิวของแร่ดิน
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70