Page 68 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
P. 68

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       60



                       4.5 ควำมจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน (cation exchange capacity)

                              ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน (cation exchange capacity : CEC) หมายถึงผลรวมของ
                       แคตไอออนที่แลกเปลี่ยนได้ ซึ่งดินหรือดินเหนียวหรือวัสดุใดๆ ดูดซับไว้ได้ที่พีเอชที่เฉพาะเจาะจง

                       โดยทั่วไปวิเคราะห์ที่พีเอช 7 หรือพีเอช 8 มีหน่วยเป็นเซนติโมลของประจุต่อกิโลกรัมของดินหรือวัสดุ
                       ใดๆ (คณะกรรมการจัดท าพจนาจุกรมปฐพีวิทยา, 2551) ความสามารถในการดูดยึดและแลกเปลี่ยน
                       ประจุบวกที่พื้นผิวคอลลอยด์ดิน เป็นสมบัติทางเคมีที่บ่งบอกถึงคุณภาพของดินที่มีความส าคัญมาก
                       ปกติคอลลอยด์ดินจะมีทั้งประจุบวกและประจุลบ แต่โดยทั่วไปจะมีประจุลบ ซึ่งประจุลบนี้จะดูดยึด

                       ประจุบวกหรือแคตไอออน โดยแคตไอออนที่ถูกดูดยึดจะสามารถแลกเปลี่ยนกับแคตไอออนที่อยู่
                       ใกล้เคียง เช่น ในสารละลายดินหรือที่ดูดยึดที่ผิวของคอลลอยด์ดินที่ใกล้เคียงได้ แคตไออนที่ดูดยึดอยู่
                                                                                          3+
                                                                                                   3+
                                                                      +
                                                                               +
                                                                  +
                       ที่ผิวของคอลลอยด์ดินที่พบเสมอคือ Ca , Mg , H , Na , K , NH4  รวมทั้ง Al  และ Fe  ซึ่งมัก
                                                             2+
                                                        2+
                                                                          +
                       พบในดินกรด
                              ปฏิกิริยาการแลกเปลี่ยนไอออนของดิน ความจริงเกิดทั้งประจุบวกและประจุลบ เป็น
                       ปฏิกิริยาผันกลับ (reversible reaction) ที่เกิดขึ้นระหว่างไอออนจากส่วนที่เป็นของแข็ง (solid
                       phase) ได้แก่ส่วนที่เป็นแร่ดินเหนียว ซึ่งหมายถึงไอออนของธาตุส่วนที่อยู่ที่อนุภาคดินเหนียวและ
                       บางส่วนของอินทรียวัตถุกับไอออนบางส่วนที่อยู่ในสารละลายดิน นอกจากนั้นปฏิกิริยาดังกล่าวยัง
                       อาจเกิดขึ้นระหว่างไอออนของธาตุในส่วนที่อยู่ในอนุภาคดินเหนียวกับรากพืช ปฏิกิริยาการ

                       แลกเปลี่ยนทั้งประจุบวกและประจุลบเป็นปฏิกิริยาที่มีความส าคัญมากที่เกิดขึ้นในดิน เพราะผลจาก
                                                                                      2+
                                                                                            +
                                                                                 2+
                                                                                               +
                       การเกิดปฏิกิริยาท าให้มีการปลดปล่อยไอออนของธาตุที่ส าคัญ เช่น Ca , Mg , Na , K  เป็นต้น ท า
                       ให้พืชสามารถใช้ไอออนของธาตุเหล่านี้ในการสร้างการเจริญเติบโตได้ นอกจากนี้ปฏิกิริยานี้ยังมี
                       บทบาทส าคัญในการท าให้ดินมีความเป็นกรดมากหรือน้อย จึงเป็นสมบัติทางเคมีของดินที่มี
                       ความส าคัญต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยตรง แต่ปฏิกิริยาการแลกเปลี่ยนแคตไออนได้รับความ
                       สนใจมากกว่าการแลกเปลี่ยนของประจุลบ เพราะเหตุที่ปริมาณของประจุบวกมีมากกว่าประจุลบและ
                       หลายชนิดเป็นชนิดที่พืชต้องการเป็นส่วนใหญ่ และบางชนิดมีผลต่อสมบัติทางเคมีอื่นๆของดิน

                              ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน จะมีค่ามากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ ชนิด

                       และปริมาณของสารคอลลอยด์ต่างๆในดิน เช่น ฮิวมัส และแร่ดินเหนียว (clay mineral) ชนิดต่างๆที่
                       มีความสามารถในการดูดยึดประจุบวกได้มากน้อยแตกต่างกัน รวมทั้งปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
                       โดยทั่วๆไปดินที่มีเนื้อละเอียดกว่าหรือดินที่มีเนื้อดินและแร่ดินเหนียวเหมือนๆกัน ทั้งชนิดและปริมาณ
                       แต่มีปริมาณฮิวมัสหรืออินทรียวัตถุในดินมากกว่า จะมีสมบัติในการดูดยึดธาตุไอออนประจุบวกได้

                       ดีกว่าดินที่มีเนื้อหยาบกว่าหรือมีปริมาณอินทรียวัตถุน้อยกว่า เช่น ดินทรายเนื้อหยาบ หรือดินเนื้อ
                       หยาบที่มีอินทรียวัตถุต่ า สมบัติที่ส าคัญเกี่ยวกับ CEC ของดิน ก็คือ ดินที่มี CEC สูง จะเป็นดินที่มี
                       ความสามารถในการดูดยึดธาตุไอออนประจุบวกได้มากกว่าดินที่มีค่า CEC ต่ า โอกาสที่จะเกิดการ
                       สูญเสียโดยการชะละลายน้อยกว่า และเป็นประโยชน์ต่อพืชได้นานกว่าดินที่มี CEC ต่ ากว่า

                              วิธีวิเคราะห์ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนของดินมีหลายวิธี แต่ละวิธีก็จะให้ค่าแตกต่างกันไป
                       ดังนั้นในการรายงานผลวิเคราะห์จึงจ าเป็นที่จะต้องระบุวิธีวิเคราะห์ไว้ด้วยเสมอ เพื่อให้ทราบค่าที่
                       น ามาใช้ในการประเมินหรือแปลผลการวิเคราะห์ดินว่ามาจากวิธีการวิเคราะห์ใด เพราะแต่ละวิธีจะให้
                       ค่าไม่เท่ากัน วิธีที่นิยมใช้ ได้แก่

                              (1) วิธีแอมโมเนียมอะซิเตท (NH4OAc) 1 N pH 7 คือใช้ NH4  ไปแทนที่ประจุบวกต่างๆที่
                                                                                 +
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73