Page 44 - การศึกษาวิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากภาคใต้
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                      38



                                                           บทที่ 4

                                                        ผลการศึกษา



                           ปัญหาการเกิดอุทกภัยของภาคใต้ พบว่า เกิดขึ้นเป็นประจ าทุกปีและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตาม
                     สภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยมีโอกาสเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึง
                     ต้นเดือนมกราคม และบางพื้นที่อาจประสบเหตุการณ์ดังกล่าวมากกว่าหนึ่งครั้งในรอบปี จนกลายเป็น
                     พื้นที่น้ าท่วมซ้ าซาก ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่การเกษตรและที่อยู่อาศัยเป็นจ านวนมาก ประชาชน

                     ได้รับความเดือดร้อนในหลายพื้นที่ โดยสาเหตุน้ าท่วมของภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นจะเป็นลักษณะการท่วม
                     แบบฉับพลันและน้ าป่าไหลหลาก โดยปัจจัยหลักที่ท าให้เกิดน้ าท่วมมาจากปริมาณฝนที่ตกหนักมาก
                     ในระยะสั้น ซึ่งโดยปกติจะเกิดจากอิทธิพลของพายุหมุนโซนร้อนในรูปของไต้ฝุ่น พายุโซนร้อน
                     โดยสภาพอุทกภัยที่เกิดขึ้นจะรุนแรง เกิดสภาพน้ าหลากอย่างฉับพลัน มีสภาพน้ าท่วมในระยะเวลาสั้นๆ

                     โดยมาไวไปไวไม่ท่วมขังนานตามลักษณะภูมิประเทศของภาคใต้ นอกจากนี้ยังเกิดจากการที่น้ าล้นตลิ่งแม่น้ า
                     หลังจากมีฝนตกต่อเนื่องกันเป็นเวลานานในลุ่มน้ า ท าให้สภาพน้ าท่ามากกว่าความจุของล าน้ า ซึ่งความรุนแรง
                     ของอุทกภัยก็จะขึ้นอยู่กับขนาดของแม่น้ า  ปริมาณและระยะเวลาที่ฝนตก สภาพอุทกภัยที่เกิดขึ้นจาก

                     น้ าล้นตลิ่งจะท าให้มีการท่วมขังเป็นเวลานานกว่า นอกจากนี้ภาคใต้ยังได้รับอิทธิพลของน้ าทะเลหนุน
                     บริเวณที่ราบลุ่มตามบริเวณสองฝั่งแม่น้ าที่อยู่ห่างจากปากอ่าวหรือทะเลไม่ไกลนักโดยระดับน้ าในแม่น้ า
                     บริเวณนั้นมักจะได้รับอิทธิพลจากน้ าขึ้น น้ าลง จากระดับน้ าทะเลหนุนตลอดเวลา น้ าทะเลจะหนุนให้
                     ระดับน้ าในแม่น้ าสูงขึ้น ปริมาณน้ าไม่สามารถไหลออกสู่ทะเลได้ ดังนั้นเมื่อน้ าที่ไหลหลากลงมาตามแม่น้ ามี
                     ปริมาณมากและตรงกับช่วงเวลาที่ระดับน้ าทะเลหนุนสูงเกินกว่าปกติก็จะยิ่งท าให้เกิดสภาวะน้ าท่วมใน

                     พื้นที่การเกษตร และที่อยู่อาศัย โดยถ้าท่วมขังมากกว่า 1 สัปดาห์ก็จะเกิดการเน่าเสียตามมา

                     4.1  ลักษณะการเกิดน ้าท่วมซ ้าซากของภาคใต้

                           ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ที่แตกต่างกันของภาคใต้ รวมถึงปริมาณน้ าฝน ท าให้พื้นที่มี
                     โอกาสและระดับความถี่ในการเกิดน้ าท่วมแตกต่างกัน ดังมีรายละเอียดดังนี้
                           4.1.1 พื้นที่น้ าท่วมซ้ าซากเป็นประจ า มีน้ าท่วมขังมากกว่า 8 ครั้งในรอบ 10 ปี

                                พื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตที่มีปริมาณน้ าฝนต่อปีมากกว่า ,0000 มิลลิเมตรขึ้นไป
                     ขนาดของพื้นที่ลุ่มน้ าค่อนข้างใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ลุ่มน้ าอื่นๆ นอกจากนี้ความลาดเทของทางน้ า
                     โดยรวมค่อนข้างสูงด้วย ซึ่งเอื้ออ านวยให้เกิดน้ าท่วมได้ง่าย เมื่อพิจารณาจากสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นอยู่
                     ทุกปีจากการส ารวจภาคสนาม พื้นที่ทางฝั่งตะวันออกของอ่าวไทยนับว่าสอดคล้องกับความเป็นจริง

                     มากในเกือบทุกปี ได้แก่ ลุ่มน้ าภาคใต้ฝั่งตะวันออก ลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลา และลุ่มน้ าตาปี จะประสบ
                     ภาวะน้ าท่วมเป็นประจ า มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันออกไป โดยสภาพการเกิดอุทกภัยในลุ่มน้ าตาปี
                     แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ อุทกภัยที่เกิดในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ าตอนบนและล าน้ าสาขาต่างๆ และ
                     อุทกภัยที่เกิดในพื้นที่ราบลุ่ม การเกิดอุทกภัยในลักษณะแรกจะเกิดจากการที่มีฝนตกหนักและ

                     น้ าป่าไหลหลากจากต้นน้ าลงมามากจนล าน้ าสายหลักไม่สามารถระบายน้ าได้ทัน ดินที่เคยอุ้มน้ าได้อิ่มตัว
                     เกินกว่าจะอุ้มน้ าไหวท าให้น้ าล้นออกมา ประกอบกับแก้มลิงตามธรรมชาติก็ไม่สามารถเก็บน้ าได้ เนื่องจาก
                     ปริมาณน้ ามีมากเกินไป นอกจากนี้ยังมีทางระบายน้ าทางธรรมชาติถูกสิ่งก่อสร้างปลูกขวาง ในอดีตพื้นที่
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49