Page 21 - การศึกษาวิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากภาคใต้
P. 21

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                      15




                     2.6   ทรัพยากรน้้าและแหล่งน้้า

                           เนื่องจากภาคใต้มีภูมิประเทศเป็นภูเขา มีลักษณะเป็นแกนหรือสันคาบสมุทรในแนวเหนือใต้
                     จึงท าให้มีล าน้ าสายสั้นๆ ที่ไหลออกสู่ทะเล ล าน้ าใหญ่ๆมีเพียง 2 สาย คือ แม่น้ าตาปีและแม่น้ าปัตตานี

                     โดยแบ่งเป็นลุ่มน้ าหลักที่ส าคัญ 5 ลุ่มน้ า ตามรายงานของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ าและ
                     การเกษตร (2555) ดังต่อไปนี้
                           2.6.1 ลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลา มีพื้นที่ลุ่มน้ าทั้งสิ้น 8,495 ตารางกิโลเมตร  ครอบคลุมพื้นที่
                     3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา พัทลุง และนครศรีธรรมราช  ต้นก าเนิดของแม่น้ าสาขาย่อยของลุ่มน้ า

                     ทะเลสาบสงขลา ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดพัทลุง สภาพภูมิประเทศทางด้านตะวันตกของลุ่มน้ ามีเทือกเขา
                     นครศรีธรรมราชทอดยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ซึ่งเป็นเขตติดต่อระหว่างจังหวัดตรังกับจังหวัดพัทลุง
                     และประเทศมาเลเซียทางตอนใต้และค่อยๆ ลาดเทลงมาสู่ทะเลสาบสงขลาส่วนทางด้านตะวันออกของ
                     ลุ่มน้ าจะเป็นสันทรายยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้  โดยมีทะเลสาบสงขลาตั้งอยู่กลางลุ่มน้ าค่อนไป

                     ทางตะวันออก  ประกอบด้วย 3 ส่วนจากปากทะเลสาบคือ ทะเลสาบสงขลา ทะเลสาบ(ประกอบด้วย
                     เกาะ 2 เกาะ คือเกาะใหญ่และเกาะสี่เกาะห้า) และทะเลหลวง คิดเป็นพื้นที่ทะเลสาบสงขลา
                     1,180 ตารางกิโลเมตร

                           2.6.2 ลุ่มน้ าภาคใต้ฝั่งตะวันตก ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัดได้แก่ จังหวัดระนอง พังงาภูเก็ต
                     กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรังและสตูล พื้นที่ลุ่มน้ าทั้งสิ้น 20,473 ตารางกิโลเมตร ลุ่มน้ าภาคใต้
                     ฝั่งตะวันตกมีลักษณะคล้ายคลึงกับลุ่มน้ าภาคใต้ฝั่งตะวันออกเป็นพื้นที่ชายฝั่งติดกับทะเลอันดามันมี
                     เทือกเขาภูเก็ตพาดผ่านจากจังหวัดระนองลงมาจนถึงจังหวัดพังงา ซึ่งเป็นต้นก าเนิดแม่น้ าสายต่างๆ  แม่น้ า
                     และล าน้ าทั่วไปมีความยาวไม่มากนักและไหลลงสู่ทะเลอันดามันไปทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้

                     เป็นส่วนใหญ่ภูมิประเทศเกิดจากแผ่นดินยุบตัวลงไป ชายฝั่งทะเลเว้าแหว่ง มีอ่าวและเกาะต่างๆ
                     มากมาย เกาะที่ส าคัญ ได้แก่ เกาะภูเก็ต เกาะตรูเตา เกาะลันตา เกาะลิบง เกาะพระทอง และเกาะยาวใหญ่
                     มีป่าชายเลนขึ้นอยู่ตั้งแต่จังหวัดพังงาไปถึงจังหวัดสตูลแม่น้ าสายส าคัญที่สุดในพื้นที่ลุ่มน้ าได้แก่ แม่น้ าตรัง

                     มีต้นก าเนิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราช ในอ าเภอทุ่งสง ไหลผ่านอ าเภอต่างๆ ในจังหวัด
                     นครศรีธรรมราชและจังหวัดตรัง แล้วไหลไปลงทะเลอันดามันที่อ าเภอกันตังจังหวัดตรัง มีความยาวรวม
                     ประมาณ 175 กิโลเมตร
                           2.6.3 ลุ่มน้ าภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีพื้นที่ลุ่มน้ ารวม 26,353 ตารางกิโลเมตรครอบคลุมพื้นที่   7

                     จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลาปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ลุ่ม
                     น้ าภาคใต้ฝั่งตะวันออกเป็นพื้นที่ชายฝั่งติดอ่าวไทยลักษณะชายทะเลราบเรียบ มีที่ราบแคบๆ ตั้งแต่
                     จังหวัดชุมพรลงไปจนถึงจังหวัดนราธิวาสแม่น้ าส่วนใหญ่ในลุ่มน้ าภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะเป็นแม่น้ าสาย
                     สั้นๆ ไหลลงสู่อ่าวไทยลักษณะพื้นที่ลุ่มน้ าทางด้านตะวันตกของลุ่มน้ าจะเป็นเทือกเขาซึ่งเป็นต้นก าเนิด

                     ของแม่น้ าสายต่างๆ ไหลผ่านที่ราบแคบ ๆ ลงสู่อ่าวไทย  ทิวเขาเหล่านี้เริ่มจากทิวเขาภูเก็ตซึ่งอยู่ทาง
                     ตอนบนของลุ่มน้ าทางทิศตะวันตกของจังหวัดชุมพรเป็นทิวเขาที่ต่อเนื่องมาจากทิวเขาตะนาวศรี   ทอด
                     ยาวลงมาทางใต้จนถึงจังหวัดพังงาแล้วเบนออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จนจรดกับทิวเขา
                     นครศรีธรรมราชซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดสุราษฎร์ธานี พาดผ่านลงมาทางใต้ผ่านจังหวัด

                     นครศรีธรรมราช จังหวัดตรัง ลงไปจนถึงจังหวัดสตูลแล้วไปจรดกับทิวเขาสันกลาคีรีซึ่งเป็นแนว
                     ขอบเขตของลุ่มน้ า แม่น้ าที่ส าคัญ ได้แก่  คลองท่าแซะ คลองหลังสวน แม่น้ าปากพนังแม่น้ าสายบุรี และ
                     แม่น้ าโกลก
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26