Page 20 - การศึกษาวิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากภาคใต้
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                      14




                           2.4.3 ดินบริเวณพื้นที่ภูเขาสูงมีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 62
                     เนื่องจากจากมีฝนตกชุกและต่อเนื่องนานในรอบปี มีการชะล้างของธาตุอาหารออกไปจากดินสูงและ
                     ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า แต่เนื่องจากดินมีความชื้นค่อนข้างสม่ าเสมอท าให้เหมาะสมในการปลูกพืช

                     ประเภทไม้ผลและไม้ยืนต้น จึงท าให้มีปัญหาทางการเกษตรน้อยกว่าภูมิภาคอื่นๆ ดินปัญหาที่พบใน
                     พื้นที่ภาคใต้ ประกอบด้วย ดินเปรี้ยวจัด ดินอินทรีย์ ดินเค็มชายทะเล ดินทราย และดินตื้น ภาคใต้มีดิน
                     ที่เหมาะสมส าหรับข้าว มีเนื้อที่ 4,593,993 ไร่ และมีความเหมาะสมส าหรับพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น
                     ทั่วๆไป มีเนื้อที่ 16,168,038 ไร่


                     2.5  ธรณีสัณฐาน

                           ส าหรับโครงสร้างทางธรณีวิทยาของพื้นที่ภาคใต้ ในช่วงแรกๆ หินจะสะสมกันในน้ าทะเล
                     แต่ในช่วงหลังส่วนใหญ่จะสะสมตัวบนแผ่นดิน โครงสร้างใหญ่ทางธรณีวิทยาที่เป็นการคดโค้งขนาดใหญ่
                     ที่มีระนาบแกนอยู่ในแนวเหนือใต้ ในบางบริเวณที่มีการคดโค้งที่รุนแรงมาก มีชั้นหินคดโค้งรูปประทุนที่

                     เกิดเนื่องจากการเกี่ยวพันกับการถีบตัวของหินแกรนิต ซึ่งพบบริเวณเทือกเขาบรรทัดหรือเทือกเขา
                     สันกาลาคีรีตั้งแต่งจังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปถึงจังหวัดสตูลในภาคใต้ตอนล่างและยังมีลอยเลื่อนเหลี่ยม
                     ขนาดใหญ่ ได้แก่ แนวลอยเลื่อนเจดีย์ 3 องค์ ที่เกิดในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ - ตะวันออกเฉียงใต้
                     แนวลอยเลื่อนระนองและแนวลอยเลื่อนคลองมาแยเกิดในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ - ตะวันตกเฉียงใต้
                     รอยเลื่อนแนวเหนือใต้บริเวณโต๊ะโบ๊ะจังหวัดนราธิวาส และหินที่ประกอบเป็นแกนของเทือกเขา

                     นครศรีธรรมราช เป็นหินแกรนิตมากกว่าร้อยละ 90 ซึ่งเป็นต้นก าเนิดแหล่งดีบุกที่ส าคัญของภาคใต้
                     รอบๆเทือกเขาหินแกรนิตมีชุดหินตะรุเตา (หินทรายและหินควอร์ไซต์) หินปูนทุ่งสง (หินปูนสีด า) หินชุด
                     ควนดินสอ หินชุดทุ่งหว้า หินชุดสตูล หินชุดนราธิวาส (หินดินดาน หินเชิร์ท หินปูน และหินฟิลไลท์)

                     และหินปูนชุดราชบุรี โอบล้อมอยู่บริเวณจังหวัดชุมพรถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีหินทราย และ
                     หินดินดานสีแควชุดโคราชโผล่ตามชายฝั่งและบริเวณลุ่มแม่น้ าตาปี ลักษณะดินบริเวณภูเขาส่วนใหญ่
                     เป็นดินที่เกิดจากการผุพังของหินเดิมและการสะสมของก้อนหินกรวดมนขนาดใหญ่ที่น้ าพามาตาม
                     บริเวณกิ่งเขาและร่องน้ า นอกจากนี้บริเวณเชิงเขาที่มีลักษณะเป็นที่ลอนลาดและอยู่ใกล้ชายฝั่งมักมีดิน

                     ลมหอบปิดทับอยู่ด้านบน ลักษณะดินบริเวณที่ราบลุ่มน้ าและตะพักแม่น้ าสายต่างๆ ของลุ่มน้ าภาคใต้
                     เป็นที่สะสมของตะกอนกรวด หินทรายขนาดต่างๆ ซึ่งพัดพามาทับถมโดยกระแสน้ าไหลหลากจากแม่น้ า
                     สายใหญ่ๆ เช่น แม่น้ าตาปี คลองพุมดวง แม่น้ าปัตตานี และแม่น้ าตรัง บริเวณที่เกิดจากการตกตะกอน
                     การพัดพาโดยกระแสน้ าของแม่น้ านี้กว้างมากและมักมีอุทกภัยเป็นประจ า ลักษณะพื้นที่บริเวณที่ราบ

                     ริมฝั่งทะเล เป็นที่ราบที่เกิดจากการสะสมตะกอน โดยกระบวนการจากคลื่นและกระแสน้ าทะเล
                     ที่ราบเหล่านี้มีความสูงจากระดับน้ าทะเลปานกลาง โดยเฉลี่ยไม่เกิน 4 เมตร มีพื้นที่ถึงประมาณ
                     7,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,375,000 ไร่ และเป็นที่ตั้งจังหวัดและอ าเภอที่ถูกน้ าท่วมเป็น
                     ประจ า (กรมทรัพยากรธรณี, 2557)
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25