Page 26 - การศึกษาวิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากภาคใต้
P. 26

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                      20




                     การประกอบอาชีพ ขนบธรรมเนียมประเพณี และความเชื่อที่มีความสัมพันธ์กับศาสนา ซึ่งแตกต่างกัน
                     ไปตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีคนไทยเชื้อสายจีนอยู่มาก จึงปรากฏลักษณะทางสังคม
                     และวัฒนธรรมจีนอย่างชัดเจน เช่น ประเพณีการกินเจ การประกอบอาชีพธุรกิจค้าขาย การท าเหมืองแร่

                     เป็นต้น ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออกประกอบด้วยชาวไทยดั้งเดิมผสมผสานกับชาวไทยเชื้อสายจีน และ
                     ชาวไทยมุสลิมกับคนกลุ่มน้อย ชาวไทยดั้งเดิมมักมีชีวิตความเป็นอยู่ในชนบทเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จาก
                     ทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนชาวไทยเชื้อสายจีนมักประกอบธุรกิจในเมืองและชานเมืองเป็นหลัก ส าหรับ
                     ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล มีกลุ่มชนที่นับถือ
                     ศาสนาอิสลามมากกว่าร้อยละ 80 สภาพสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนภาษาที่ใช้ของคนจ านวนมากจึง

                     มีความแตกต่างจากท้องถิ่นอื่นของภาคใต้ (ส านักงานคณะกรรมการกรรมพัฒนาเศรษฐกิจและ
                     สังคมแห่งชาติ, 2557)

                     2.9  สภาพการใช้ที่ดิน

                           จากการวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดินใน พ.ศ. 2551-2552 โดยกลุ่มวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน
                   กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ได้วิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดินของภาคใต้ ประกอบไปด้วย

                   การใช้ที่ดินประเภทต่างๆ ได้แก่ พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่แหล่งน้ า
                   และพื้นที่อื่นๆ ดังต่อไปนี้ (ภาพที่ 6 และ ตารางที่ 6)
                           2.9.1  พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง มีเนื้อที่ 1,570,987 ไร่ หรือร้อยละ 3.55 ของพื้นที่ภาคใต้
                           2.9.2  นาข้าว มีเนื้อที่ 2,060,739 ไร่ หรือร้อยละ 4.66ของพื้นที่ภาคใต้

                           2.9.3  นาร้าง มีเนื้อที่ 600,136 ไร่ หรือร้อยละ 1.36 ของพื้นที่ภาคใต้
                           2.9.4  พืชไร่ มีเนื้อที่ 12,622 ไร่ หรือร้อยละ 0.03 ของพื้นที่ภาคใต้
                           2.9.5  ไม้ยืนต้น มีเนื้อที่ 19,778,847 ไร่ หรือร้อยละ 44.75 ของพื้นที่ภาคใต้
                           2.9.6  ไม้ผลมีเนื้อที่ 2,708,228 ไร่ หรือร้อยละ 6.13 ของพื้นที่ภาคใต้

                           2.9.7  สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ า มีเนื้อที่ 548,806 ไร่ หรือร้อยละ 1.24 ของพื้นที่ภาคใต้
                           2.9.8  อื่นๆ (พืชสวน ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ พืชน้ า) มีเนื้อที่ 40,475 ไร่ หรือร้อยละ 0.09
                   ของพื้นที่ภาคใต้
                           2.9.9  พื้นที่ป่าไม้ ประกอบไปด้วย ป่ารอสภาพฟื้นฟู และป่าสมบูรณ์ มีเนื้อที่ 12,805,551 ไร่

                   หรือร้อยละ 28.98 ของพื้นที่ภาคใต้
                           2.9.10  พื้นที่แหล่งน้ า มีเนื้อที่ 2,334,486 ไร่ หรือร้อยละ 5.28 ของพื้นที่ภาคใต้
                           2.9.11 พื้นที่อื่นๆ ประกอบไปด้วย พื้นทิ้งร้าง พื้นที่ลุ่ม อื่นๆ (เหมืองแร่ บ่อลูกรัง บ่อทราย)

                   มีเนื้อที่ 1,736,115 ไร่ หรือร้อยละ 3.92 ของพื้นที่ภาคใต้
                            ภาคใต้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนมากเป็นพื้นที่เกษตรกรรม โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกยางพาราซึ่ง
                   เป็นพืชหลักของภาคปลูกจ านวนมากที่สุด เนื่องจากสามารถปลูกได้ตั้งแต่พื้นที่ราบถึงเชิงเขาซึ่งมีอยู่
                   ไม่น้อยที่เป็นการบุกรุกพื้นที่ป่าเข้าไปท าการเพาะปลูก รองลงมาเป็นพื้นที่ป่าไม้นอกจากนี้ยังมีพื้นที่
                   ปลูกข้าว ในที่ราบลุ่มทะเลสาบสงขลาและปลูกกระจายในจังหวัดต่างๆ ขณะที่การปลูกพืชสวน พืชไร่

                   เริ่มมีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะปาล์มน้ ามัน ไม้ผล และกาแฟ เนื่องจากมีการขยายพื้นที่ปลูกมากขึ้นเพื่อ
                   รองรับกับความต้องการของตลาด
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31