Page 22 - การศึกษาวิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากภาคใต้
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                      16




                           2.6.4 ลุ่มน้ าแม่น้ าตาปี มีพื้นที่ลุ่มน้ ารวมทั้งสิ้น 12,224 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่
                     3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และกระบี่ ลุ่มน้ าตาปี ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขา
                     นครศรีธรรมราชและทิวเขาภูเก็ต พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ แม่น้ าสายส าคัญ ได้แก่ แม่น้ าตาปี

                     มีต้นก าเนิดจากเขาช่องลม ใต้บริเวณเทือกเขานครศรีธรรมราชในเขตอ าเภอทุ่งใหญ่ จังหวัด
                     นครศรีธรรมราช ไหลขึ้นไปทางเหนือ ผ่านอ าเภอต่างๆ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี
                     ความยาวรวม 232 กิโลเมตร แม่น้ าพุมดวง มีต้นก าเนิดจากเทือกเขาภูเก็ต ในเขตอ าเภอคีรีรัฐนิคม
                     และอ าเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานีไหลผ่านอ าเภอต่าง ๆ มาบรรจบกับแม่น้ าตาปีที่อ าเภอพุนพิน
                     จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความยาวรวม 120 กิโลเมตร

                           2.6.5 ลุ่มน้ าแม่น้ าปัตตานี ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย มีพื้นที่ลุ่มน้ าทั้งสิ้น 3,858
                     ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ครอบคลุมจังหวัดยะลาและจังหวัดปัตตานีลักษณะลุ่มน้ าเป็นแนวยาว วางตัว
                     อยู่ตามแนวทิศเหนือ-ใต้ลุ่มน้ าปัตตานีมีต้นก าเนิดจากเทือกเขาสันกาลาคีรี ในเขตอ าเภอเบตง

                     จังหวัดยะลา ไหลจากทิศใต้ขึ้นไปทางทิศเหนือ แล้วไหลลงทะเลอ่าวไทยที่อ าเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
                     พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเขา มีพื้นที่ราบเล็กน้อยทางตอนล่างของลุ่มน้ าเป็นที่ราบลุ่ม มีความยาวล าน้ า
                     ประมาณ 210 กิโลเมตร ลุ่มน้ าปัตตานีมีแม่น้ าปัตตานีเป็นล าน้ าหลัก และมีแม่น้ ายะหาเป็นล าน้ า
                     สาขาในช่วงปลายคลองมีคลองหนองจิกแยกออกจากแม่น้ าปัตตานี และมีคลองเล็กๆ อีกมากมาย

                           2.6.6 ลุ่มน้ าชายฝั่งทะเลประจวบคีรีขันธ์ มีพื้นที่ลุ่มน้ ารวมทั้งหมด 7,097 ตารางกิโลเมตร
                     มีลักษณะลุ่มน้ าเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าแคบยาว ตั้งอยู่ในส่วนใต้สุดของภาคตะวันตกของประเทศไทย
                     และอยู่ในส่วนที่แคบที่สุดของประเทศไทย คือ บริเวณต าบลคลองวาฬ อ าเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์
                     กว้างเพียง 12 กิโลเมตรเท่านั้น ครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีอาณาเขต

                     ติดต่อทางทิศเหนือติดกับลุ่มน้ าเพชรบุรี ทิศ ใต้ติดกับลุ่มน้ าภาคใต้ฝั่งทะเลตะวันออก ทิศตะวันออก
                     ติดกับอ่าวไทย และ ทิศตะวันตกติดกับเขตชายแดนพม่า ลุ่มน้ าชายฝั่งทะเลประจวบคีรีขันธ์ ตั้งอยู่ระหว่าง
                     เทือกเขาตะนาวศรีทางด้านตะวันตกและอ่าวไทย ลักษณะภูมิประเทศทางด้านตะวันตกสุดจะเป็น
                     เทือกเขา ซึ่งเป็นต้นน้าของล าน้ าต่างๆ ถัดเข้ามาทางตะวันออกจะเป็นพื้นที่แบบเชิงเขาถึงลูกคลื่นลอนชัน

                     ยาวไปตามแนวเหนือ-ใต้ ต่อมาจะมีลักษณะพื้นที่แบบลูกคลื่นลอนชันถึงลอนลาด ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่
                     ของลุ่มน้ า ประกอบไปด้วยพื้นที่แบบที่ราบเชิงเขา หรือพื้นที่แบบเนินตะกอนรูปพัดติดต่อกัน ยาวไป
                     ตามแนวทิศเหนือถึงทิศใต้สุดของลุ่มน้ า มีภูเขาโดดกระจายเป็นหย่อมๆ ด้านตะวันออกสุดจะเป็นพื้นที่

                     ราบชายฝั่งทะเลเป็นแถบยาวแคบๆ จากอ าเภอหัวหิน มาถึงช่วงกลางของอ าเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์
                     และอีกช่วงหนึ่งที่บริเวณอ าเภอบางสะพาน ชายฝั่งทะเลของลุ่มน้ าส่วนใหญ่เป็นหาดโคลนหรือทราย
                     ปนโคลน มีบางแห่งเป็นหาดทราย เช่น หาดหัวหิน หาดอ่าวประจวบคีรีขันธ์ และหาดอ่าวมะนาว
                     เป็นต้น
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27