Page 18 - การศึกษาวิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากภาคใต้
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                      12




                     มีเกาะที่ส าคัญ เช่น เกาะภูเก็ต เกาะตะรุเตา หมู่เกาะลันตา เกาะรังนก เกาะราวี เกาะอาดัง และ
                     เกาะยาวใหญ่ เป็นต้น บริเวณชายฝั่งทะเลบางแห่ง น้ าทะเลท่วมถึง มีป่าชายเลนขึ้นอยู่ ตั้งแต่อ่าวพังงา
                     ลงไปจนถึงจังหวัดสตูล พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลของทั้งสองด้านจะเป็นที่ราบแคบ โดยชายฝั่งด้านอ่าวไทย

                     จะมีที่ราบกว้างและใหญ่กว่าด้านทะเลอันดามัน มีเทือกเขาภูเก็ตทอดยาวตั้งแต่จังหวัดชุมพร ระนอง
                     จนถึงพังงา ต่อด้วยเทือกเขาหินปูนเตี้ยๆ และเทือกเขานครศรีธรรมราชเป็นแนวต่อจากเทือกเขาภูเก็ต
                     และทอดจากทางตอนใต้ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีผ่านจังหวัดกระบี่ไปยังจังหวัดนครศรีธรรมราชถึง
                     จังหวัดสตูล ทางตอนใต้สุดของภาคมีเทือกเขาสันกาลาคีรีทอดยาวในแนวตะวันออก-ตะวันตก บางส่วน
                     ของเทือกเขานี้เป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสหพันธรัฐมาเลเซีย (กรมทรัพยากรทางทะเลและ

                     ชายฝั่ง, 2548) เทือกเขาที่ส าคัญในภาคใต้ ได้แก่
                           2.3.1  เทือกเขานครศรีธรรมราช เป็นแนวเขาซึ่งทอดยาวขนานกับชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก
                     เกือบขนานกับเทือกเขาภูเก็ต ห่างจากเทือเขาภูเก็ตประมาณ 100 กิโลเมตร เทือกเขานครศรีธรรมราช

                     ปรากฏชัดตั้งแต่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผ่านจังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปจนถึง
                     จังหวัดสตูล มียอดเขาหลวงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดพื้นที่เทือกเขาภูเก็ตและเทือกเขานครศรีธรรมราชมี
                     ภูมิประเทศค่อนข้างราบ แต่ก็มีเขาหินปูนโดดๆ และที่เกาะกลุ่มกันเป็นภูเขาหินปูน ผุดขึ้นบนที่ราบ
                     ทั่วๆไปในเขตจังหวัดพังงา กระบี่ พัทลุง โดยเฉพาะเขตจังหวัดพังงาด้านเหนือและด้านตะวันออก

                     ส่วนภูมิประเทศที่หันออกสู่ทะเลนั้น ด้านตะวันออกหันออกสู่ทะเลมากกว่าด้านตะวันตก
                           2.3.2  เทือกเขาภูเก็ตหรือเทือกเขาตะนาวศรี ทอดตัวยาวตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนถึงจังหวัดพังงา
                     ในแนวขนานกับชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก และมีแนวต่อไปปรากฏอยู่บนเกาะภูเก็ต จากนั้นจมตัวลงไป
                     ในทะเลอันดามัน เทือกเขาภูเก็ตมีลักษณะซับซ้อน ยอดเขาสูงๆส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ

                     จังหวัดพังงา
                           2.3.3  เทือกเขาสันกาลาคีรี ทอดตัวอยู่ในแนวตะวันออกและตะวันตก ตรงบริเวณพรมแดน
                     ประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย เทือกเขาส่วนใหญ่และยอดเขาซึ่งสูงที่สุดของเทือกเขานี้อยู่ใน
                     ประเทศมาเลเซีย ส่วนยอดที่สูงที่สุดในประเทศไทย คือ ยอดเขาอุลูติติมาซาท์สูง 1,535 เมตร อยู่ตรง

                     พรมแดนด้านตะวันตกเฉียงใต้ของอ าเภอเบตง จังหวัดยะลา จากทิวเขาสันกาลาคีรี มีทิวเขาแยก
                     ออกมาทางทิศเหนือเข้ามาในเขตประเทศไทยหลายทิวเขา และเป็นต้นก าเนิดของแม่น้ าหลายสาย

                     2.4  ทรัพยากรดิน

                           กรมพัฒนาที่ดิน (2548) ได้รายงานว่า ทรัพยากรดินในพื้นที่ภาคใต้ ประกอบด้วย
                           2.4.1  ดินในพื้นที่ราบลุ่มหรือพื้นที่น้ าขัง มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ บริเวณที่ราบ

                     น้ าทะเลท่วมถึง ที่ราบน้ าทะเลเคยท่วมถึง ที่ลุ่มต่ าระหว่างสันทราย ที่ราบลุ่มน้ าท่วมถึงตะพักล าน้ า
                     จนถึงที่ราบระหว่างเนินเขาและหุบเขา ในช่วงฤดูฝนมีน้ าแช่ขังแฉะมีระดับน้ าใต้ดินอยู่ใกล้ผิวดิน
                     การระบายน้ าค่อนเลว เลว ถึงเลวมาก ดินมีสีเทาหรือสีเทาอ่อน มีจุดประสีตลอดหน้าตัดดิน ที่บ่งบอก
                     ถึงการมีน้ าแช่ขังในหน้าตัดดิน ปฏิกิริยาดินส่วนใหญ่เป็นกรดปานกลางถึงเป็นด่างปานกลาง หาก
                     บริเวณใดมีอิทธิพลของดินเปรี้ยวจัดเข้ามาเกี่ยวข้อง ปฏิกิริยาดินจะเป็นกรดรุนแรงมากถึงเป็นกรดจัดมาก

                     ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ าถึงปานกลาง ประกอบด้วย 19 กลุ่มชุดดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 2 3 5 6 7 8
                     10 11 13 14 16 17 18 22 23 25 57 58 และ 59 จ าแนกตามกลุ่มเนื้อดินอย่างกว้างๆ ได้ 7 กลุ่ม ดังนี้
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23