Page 19 - การศึกษาวิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากภาคใต้
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                      13




                                1)  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินเลนเละ มีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งที่มีศักยภาพ
                     เป็นดินเปรี้ยวจัด ยังได้รับอิทธิพลจากน้ าทะเลขึ้นลงเป็นประจ า ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 13
                                2)  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินเหนียว มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง

                     หรือดินเหนียว ส่วนดินล่างเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทรายแป้ง บริเวณที่ได้รับอิทธิพลของ
                     ตะกอนทะเลเป็นดินเปรี้ยวจัด ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 2 3 5 6 7 10 11 และ 14
                                3)  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินร่วน มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินร่วนปนทรายแป้ง
                     ส่วนดินล่างเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนเหนียว
                     ปนทรายแป้ง ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 16 17 18 22 และ 59

                                4)  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินทราย มีเนื้อดินทั้งบนและล่างเป็นดินทราย หรือดินทรายปนดินร่วน
                     ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 23
                                5)  กลุ่มชุดดินที่ยกร่อง ส่วนใหญ่ทั้งดินบนและดินล่างเป็นดินเหนียว ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 8

                                6)  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินตื้น มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนเหนียว
                     ส่วนดินล่างเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียว มีกรวดหรือลูกรังปะปนปริมาณร้อยละ 35 หรือ
                     มากกว่าโดยปริมาตร ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 25
                                7)  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินอินทรีย์ มีการสะสมวัสดุอินทรีย์ที่สลายตัวน้อยถึงปานกลางเป็น

                     ชั้นหนา บางบริเวณในชั้นดินล่างมีตะกอนทะเลที่มีศักยภาพในการเป็นดินเปรี้ยวจัด ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 57
                     และ 58
                           2.4.2 ดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินชื้น ดินมีช่วงแห้งติดต่อกันน้อยกว่า 45 วัน หรือดินแห้ง
                     รวมกันน้อยกว่า 90 วันในรอบปี มีการท าการเกษตรบริเวณสันดินริมน้ า ลานตะพักล าน้ า ที่ราบเชิงเขา

                     และเนินเขา พื้นที่ที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน และภูมิประเทศศาสตร์ สภาพพื้นที่มีตั้งแต่ราบเรียบ
                     เป็นลูกคลื่น เนินเขาและพื้นที่สูงชัน มีระดับน้ าใต้ดินอยู่ลึกกว่า 2 เมตร การระบายน้ าดีปานกลาง
                     ดี หรือดีมากเกินไป ดินมีสีน้ าตาลปนเทา สีน้ าตาล สีเหลือง สีแดง อาจพบจุดประสีเล็กน้อย ปฏิกิริยาดิน
                     มีตั้งแต่เป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย ความอุดมสมบูรณ์ต่ า ประกอบด้วย 12 กลุ่มชุดดิน ได้แก่

                     กลุ่มชุดดินที่ 26 32 34 39 42 43 45 50 51 52 53 และ 60 จ าแนกตามกลุ่มเนื้อดินอย่างกว้างๆ
                     ได้ 4 กลุ่ม ดังนี้
                                1)  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินเหนียว มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งหรือ

                     ดินเหนียว ส่วนดินล่างเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทรายแป้ง ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 26 และ 53
                                2)  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินร่วน มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินร่วนปนทรายแป้ง
                     ส่วนดินล่างเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียว ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนเหนียวปน
                     ทรายแป้ง ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 32 34 39 50 และ 60
                                3)  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินทราย มีเนื้อดินทั้งบนและล่างเป็นดินทราย หรือดินทรายปน

                     ดินร่วน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 45 และ 43
                                4)  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินตื้น มีเนื้อดินเป็นดินตื้น มีเนื้อดินเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย
                     หรือดินร่วนเหนียว ส่วนดินล่างเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียว มีกรวดหรือลูกรังปะปน

                     ปริมาณเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 35 โดยปริมาตร หรือถึงชั้นหินพื้นหรือชั้นมาร์ล ภายในความลึก 50
                     เซนติเมตรจากผิวดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 45 51 และ 52
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24