Page 14 - การศึกษาวิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากภาคใต้
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        8




                     2.2  สภาพภูมิอากาศ

                           เนื่องจากภาคใต้ของประเทศไทยมีลักษณะเป็นคาบสมุทรยื่นออกไปในทะเล ท าให้มีภูมิอากาศ
                     และฤดูกาลแตกต่างจากที่อื่นๆ มีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก มีฝนตกเกือบทั้งปี ประกอบด้วย
                     ฤดูกาล 2 ฤดูกาล คือ ฤดูฝนซึ่งเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม โดยอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
                     ที่พัดปกคลุมประเทศไทย เป็นช่วงเวลาที่ภูมิภาคนี้ของโลกก าลังเอียงออกจากดวงอาทิตย์ และเริ่มเปลี่ยน

                     การรับแสงในแนวตั้งฉากโดยตรงเป็นแนวเอียง จนกระทั่งถึงกลางเดือนธันวาคม เป็นช่วงที่อิทธิพล
                     ของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปกคลุมประเทศไทย เป็นช่วงเวลาที่บริเวณภูมิภาคนี้ของโลกก าลัง
                     เอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ และรับแสงในแนวตั้งฉากโดยตรงอีกครั้งหนึ่ง ฝนในช่วงตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึง

                     เดือนกันยายน มักเรียกว่าฝนตะวันตกโดยพื้นที่ทางชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกมีฝนตกเต็มที่ในฤดูมรสุม
                     ตะวันตกเฉียงใต้ และฝนทิ้งช่วงตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมมักเรียกว่าฝนตะวันออก (ภาพที่ 3)
                     โดยพื้นที่ทางชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกมีฝนตกเต็มที่ในช่วงนี้ และฝนตะวันออกนี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว
                     ของภาคกลางประเทศไทย นอกจากนั้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออ่อนตัวลง
                     จะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเกิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในทะเลจีนใต้พัดเข้าสู่ประเทศไทย

                     ลมนี้เป็นลมร้อนและชื้นท าให้อุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นจนกลายเป็นฤดูร้อนในเดือนเมษายนหรืออาจเลยไป
                     จนถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูร้อนของภาคใต้เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม ภูมิอากาศในภูมิภาคนี้
                     ร้อนชุ่มชื้น เนื่องจากมีความชื้นสูงมากเพราะมีอาณาเขตติดต่อกับฝั่งทะเล ทั้งด้านทิศตะวันออก

                     และทิศตะวันตกและภูมิภาคนี้อยู่บริเวณเขตร้อนชื้นใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงมีฝนตกเกือบตลอดปี
                     (กรมอุตุนิยมวิทยา, 2557)

























                     ภาพที่ 3 ต าแหน่งร่องความกดอากาศต่ า ทิศทางลมมรสุมและทางเดินพายุหมุนเขตร้อน
                     ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา (2557)
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19