Page 21 - ผลการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 ควบคุมโรคโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii ของกุยช่าย ในพื้นที่จังหวัดลำปาง
P. 21

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          11




                  การใช้สารเคมีก าจัดโรคพืช เป็นวิธีที่สามารถควบคุมระดับความรุนแรงของโรคได้ดีกว่าต ารับการทดลองอื่นๆ
                  แต่เนื่องจากต ารับการทดลองที่ 2 เป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตจากการใช้สารเคมี มีผลท าให้เกิดการปนเปื้อน
                  และตกค้างของสารเคมีในผลผลิต นอกจากนี้ยังส่งผลต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้ใช้ ผู้บริโภคและตกค้างใน

                  สิ่งแวดล้อมด้วย ดังนั้นการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 จึงเป็นวิธีการที่น่าสนใจแก่เกษตรกรผู้ปลูกกุยช่าย
                  เนื่องจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.3 มีเชื้อรา Trichoderma และ แบคทีเรีย Bacillus subtilis เป็นส่วนประกอบ
                  สามารถท าลายและยับยั้งการเจริญของเชื้อสาเหตุของโรคพืช ลด และควบคุมปริมาณเชื้อสาเหตุโรคพืชในดิน
                  ท าให้ดินมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รากพืชแข็งแรง และเจริญเติบโตได้ดี (กรมพัฒนา
                  ที่ดิน, 2551) และยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่หาง่าย ไม่เสียค่าใช้จ่ายซึ่งจะเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร

                  (ตารางภาคผนวกที่ 3) ทั้งยังเป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกรที่สนใจปลูกพืชในระบบเกษตรอินทรีย์อีกด้วย

                  ตารางที่ 2 เปอร์เซ็นต์การเข้าท าลายและยับยั้งโรคโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii

                                                                  การเข้าท าลายของโรค  การยับยั้งของโรค
                                     ต ารับการทดลอง
                                                                          (%)                 (%)
                                                                              c
                       T1: แปลงควบคุม                                   27.50                  -
                                                                             bc
                       T2: ใช้ปุ๋ยและสารเคมีตามวิธีการของเกษตรกร        36.88                63.12
                                                                             ab
                       T3: ใช้ปุ๋ยหมักที่ขยายเชื้อสารเร่งซุปเปอร์ พด.3   43.74               56.26
                           อัตรา 6.25 กรัมต่อตารางเมตร
                                                                             ab
                       T4: ใช้เชื้อสด Trichoderma อัตรา 50 กรัมต่อ      45.82                54.18
                           ตารางเมตร
                                                                             ab
                       T5: ใช้ชีวภัณฑ์เชื้อรา Trichoderma อัตรา 50      46.24                53.76
                           กรัมต่อตารางเมตร
                                                                              a
                       T6: ใช้ชีวภัณฑ์แบคทีเรีย Bacillus subtilis       48.32                51.68
                           อัตรา 0.67 กรัมต่อตารางเมตร
                                         F-test                            *                   -

                                         %CV                             16.82                 -

                  หมายเหตุ :  * หมายถึง มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยวิธี DMRT
                             ตัวอักษรที่ต่างกันในคอลัมน์เดียวกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26