Page 25 - ผลการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 ควบคุมโรคโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii ของกุยช่าย ในพื้นที่จังหวัดลำปาง
P. 25

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          15




                                                              สรุป

                         จากการศึกษาการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 ควบคุมโรคโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium  rolfsii
                  ของกุยช่ายในพื้นที่จังหวัดล าปาง สามารถสรุปผลการทดลองได้ดังนี้
                         1. การศึกษาจ านวนต้นกุยช่ายที่แสดงอาการของโรคโคนเน่าในแต่ละระดับ พบว่า ต ารับการทดลองที่
                  2  การใช้สารเคมีก าจัดโรคพืช สามารถควบคุมระดับความรุนแรงของโรคได้ดีกว่ากลุ่มต ารับการทดลองที่ใช้

                  จุลินทรีย์ในการควบคุมโรคโคนเน่า (ต ารับการทดลองที่ 3, 4, 5 และ 6) โดยอยู่ในระดับ 0-2 ในขณะที่ต ารับ
                  การทดลองที่ 3 การใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 สามารถควบคุมระดับความรุนแรงของโรคโคนเน่าได้ดีกว่าต ารับ
                  การทดลองอื่นๆ ในกลุ่มที่ใช้จุลินทรีย์ในการควบคุมโรคโคนเน่าโดยมีระดับความรุนแรงของโรคระดับ 0-3

                         2.  การประเมินความรุนแรงของโรคโคนเน่าของกุยช่าย พบว่า ต ารับการทดลองที่ 2  การใช้สารเคมี
                  ก าจัดโรคพืช เป็นวิธีที่สามารถควบคุมระดับความรุนแรงของโรคได้ดีกว่าต ารับการทดลองอื่นๆ ส่วนต ารับการ
                  ทดลองที่ 3  การใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 เป็นวิธีการที่น่าสนใจแก่เกษตรกรผู้ปลูกกุยช่าย เนื่องจากเป็น
                  ผลิตภัณฑ์ที่หาง่าย ไม่เสียค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ทั้งยังเป็นทางเลือกให้แก่
                  เกษตรกรที่สนใจปลูกพืชในระบบเกษตรอินทรีย์

                         3.  การศึกษาการเจริญเติบโตของกุยช่ายโดยการนับจ านวนต้นต่อกอและวัดความสูงของต้นกุยช่าย
                  พบว่า การเจริญเติบโตของกุยช่ายในทุกต ารับการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมีจึง
                  ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตทางด้านการแตกกอและความสูงของกุยช่าย ทั้งยังท าให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น


                                                          ข้อเสนอแนะ

                         1.  การควบคุมโรคโคนเน่าของกุยช่ายโดยใช้สารเคมีป้องกันก าจัดโรคเพียงอย่างเดียวท าให้ไม่ได้ผลดี
                  เท่าที่ควร เนื่องจากเชื้อราสาเหตุโรคนี้สามารถท าให้เกิดโรคกับพืชผักได้หลายวงศ์ เชื้อรามีชีวิตอยู่ข้ามฤดูปลูก
                  ในรูปของเม็ด sclerotium ซึ่งเป็นโครงสร้างพิเศษที่เกิดจากการประสานและรัดตัวของเส้นใย มีความคงทนต่อ

                  สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป อายุของเม็ด sclerotium จะยืนยาวได้นั้นขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้นเป็นส าคัญ
                  ดังนั้นในควบคุมและลดการแพร่ระบาดของโรคโคนเน่าจึงจ าเป็นต้องใช้วิธีเขตกรรมหลายวิธีร่วมกัน
                  (Integrated management) กล่าวคือ การปลูกพืชหมุนเวียนภายหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตกุยช่ายแล้ว โดยพืช
                  หมุนเวียนต้องไม่ใช้พืชวงศ์เดียวกับกุยช่ายหรือเป็นพืชอาศัยของเชื้อราสาเหตุโรคโคนเน่าของกุยช่าย ได้แก่ ข้าว

                  มะเขือเทศ พืชตระกูลถั่ว กระเทียม พริก ผักต่างๆ พืชอาหารสัตว์ และไม้ประดับ เป็นต้น และที่ส าคัญคือเมื่อ
                  ตรวจพบกุยช่ายที่แสดงอาการของโรคโคนเน่าในแปลงปลูกควรรีบถอนเผาท าลาย ไม่ควรทิ้งไว้ในแปลง ทั้งนี้
                  เพราะเชื้อราดังกล่าวสามารถอยู่ข้ามฤดูได้ในดินในรูปของเม็ด sclerotia โดย sclerotia อาจอยู่อย่างอิสระที่

                  ผิวดิน หรืออยู่บนซากพืช อาจถูกฝังลึกลงไปในดินท าให้อยู่ข้ามฤดูได้ประมาณ 1 ปี หรือน้อยกว่า ดังนั้นการไถ
                  พรวนดินจนลึกเกินกว่า 12 เซนติเมตร จะเป็นกลวิธีหนึ่งที่จะควบคุมการเจริญของเชื้อราชนิดนี้ได้
                         2.  การศึกษาเกี่ยวกับนิเวศน์วิทยาและวงจรการแพร่ระบาดของโรคโคนเน่าของกุยช่าย กล่าวคือ เชื้อ
                  Sclerotium  rolfsii  เป็นเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคพืชมากกว่า 270 ชนิด ประกอบกับเชื้อราดังกล่าวสามารถอยู่
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30