Page 18 - ผลการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 ควบคุมโรคโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii ของกุยช่าย ในพื้นที่จังหวัดลำปาง
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            8




                                                    ผลการทดลองและวิจารณ์

                         การศึกษาการใช้จุลินทรีย์ควบคุมโรคโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii ของกุยช่าย ปี พ.ศ.
                  2556-2557 ได้ผลการทดลองต่อไปนี้

                         1. จ านวนต้นกุยช่ายที่แสดงอาการของโรคโคนเน่าในแต่ละระดับ
                            จากการศึกษาการเข้าท าลายของโรคโคนเน่าของกุยช่าย โดยสังเกตลักษณะอาการผิดปกติที่เกิด

                  จากการเข้าท าลายของโรคโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii โดยเชื้อรา S. rolfsii จะเข้าท าลาย
                  พืชบริเวณโคนต้นระดับดินหรือใต้ผิวดินเล็กน้อย พืชแสดงอาการแผลแห้งตายรอบล าต้น บริเวณที่เชื้อเข้า
                  ท าลายพบเส้นใยของเชื้อราเป็นขุยหยาบสีขาวขึ้นคลุมแผล รอบโคนต้นระดับดินคอดและอาจพบเม็ดแข็งขนาด
                  เท่าเมล็ดผักกาดของเม็ด sclerotium  ขึ้นติดอยู่กับขุยสีขาวนี้ ถ้าเชื้อเข้าท าลายพืชระยะต้นกล้าหรือระยะต้น
                  อ่อน ล าต้นมีลักษณะคอดกิ่วและหักพับแล้วพืชจะแห้งตายในเวลาต่อมาเหมือนกับอาการโรค damping  off

                  (ศุภลักษณ์, 2536) จากการนับจ านวนต้นกุยช่าย 80 ต้นในแต่ละต ารับการทดลองที่แสดงอาการของโรคโคน
                  เน่าในแต่ละระดับ ตั้งแต่ระดับ 0-4 พบว่า ต ารับการทดลองที่ 2 การใช้สารเคมีก าจัดโรคพืช สามารถควบคุม
                  ระดับความรุนแรงของโรคได้ดีกว่ากลุ่มต ารับการทดลองที่ใช้จุลินทรีย์ในการควบคุมโรคโคนเน่า (ต ารับการ

                  ทดลองที่ 3,  4,  5  และ 6)  โดยอยู่ในระดับ 0-3  ซึ่งมีจ านวนต้นเท่ากับ 28,  40,  11  และ 1  ต้น ตามล าดับ
                  ในขณะที่ต ารับการทดลองที่ 3 การใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 มีแนวโน้มควบคุมระดับความรุนแรงของโรคโคน
                  เน่าได้ดีกว่าต ารับการทดลองอื่นๆ ในกลุ่มที่ใช้จุลินทรีย์ในการควบคุมโรคโคนเน่า โดยมีระดับความรุนแรงของ
                  โรคระดับ 0-3  จ านวน 11,  42,  18  และ 9  ต้น ตามล าดับ สอดคล้องกับการทดลองของวีระศักดิ์ (2548)

                  ซึ่งพบว่า การใช้เชื้อราปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคพืชผักที่ส าคัญ ได้แก่ โรคเหี่ยวของมะเขือเทศที่เกิดจากเชื้อรา
                  สาเหตุ S. rolfsii โดยเชื้อรา Trichoderma sp. ร่วมกับเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis และ Streptomyces
                  จากการทดลองพบว่า การใช้จุลินทรีย์ทั้ง 3 ชนิดร่วมกัน สามารถควบคุมโรคโคนเน่าของมะเขือเทศได้อย่างมี
                  ประสิทธิภาพ นอกจากนี้ กรมพัฒนาที่ดิน (2558) รายงานว่า จุลินทรีย์ซุปเปอร์ พด. 3 เป็นผลิตภัณฑ์ที่

                  ผสมผสานการใช้จุลินทรีย์ 2 ชนิด ที่สามารถควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชประกอบด้วย เชื้อรา Trichoderma sp.
                  และแบคทีเรีย Bacillus subtilis ที่มีประสิทธิภาพสูงในการเข้าท าลายเชื้อสาเหตุโรครากเน่าและโคนเน่าของ
                  พืช เนื่องจากมีคุณสมบัติเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว สามารถแก่งแย่งแข่งขันอาหาร และที่อยู่อาศัยได้ดีกว่า
                  เชื้อสาเหตุโรคพืช สร้างสารปฏิชีวนะ และเข้าท าลายเชื้อสาเหตุของโรคพืชได้โดยตรง จึงสามารถใช้ในการ

                  ป้องกันและควบคุมการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคพืชหลายชนิด จ านวนต้นที่แสดงอาการของโรคโคนเน่าที่เกิด
                  จากเชื้อรา Sclerotium rolfsii ในต้นกุยช่ายแสดงในตารางที่ 1 และภาพที่ 2
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23