Page 14 - ผลการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 ควบคุมโรคโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii ของกุยช่าย ในพื้นที่จังหวัดลำปาง
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            4




                         3.  ดิน
                            ดินในจังหวัดล าปางมีลักษณะเป็นดินร่วนหยาบหรือดินร่วนละเอียดที่เกิดจากดินตะกอนน้ าพา
                  เชิงซ้อน ชั้นดินมีลักษณะเป็นชั้นสลับเนื้อดินไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับตะกอนที่มาทับถม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึง

                  กลาง ความอุดมสมบูรณ์ต่ า การระบายน้ าเลวถึงค่อนข้างเลว แนวทางจัดการดินในการปลูกพืชผัก
                  คือ ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา 2–3 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ าและพัฒนา
                  แหล่งน้ าและจัดระบบการให้น้ าในแปลงปลูก (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548) ซึ่งในดินในพื้นที่จังหวัดล าปาง มีสมบัติ
                  ทั้งทางกายภาพและเคมีที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกกุยช่าย แต่เนื่องจากกุยช่ายเป็นพืชที่สามารถสร้างรายได้
                  ให้แก่เกษตรกร เป็นพืชผักที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ทั้งส่วนของใบเขียวและดอก นอกจากนี้ยัง

                  สามารถเพิ่มมูลค่าด้วยการท าเป็นกุยช่ายขาวได้อีกด้วย ดังนั้นแนวทางในการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ในการปลูก
                  กุยช่าย ควรเพิ่มอินทรียวัตถุลงไปในดินจะเป็นการช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินให้มีสมบัติที่เหมาะสมต่อ
                  การเจริญเติบโตของพืชมากยิ่งขึ้น การปรับปรุงบ ารุงดินโดยการใช้ปุ๋ยหมักจึงเป็นแนวทางที่ส าคัญประการหนึ่ง

                  เพื่อเพิ่มและยกระดับปริมาณอินทรียวัตถุให้แก่ดิน เนื่องจากเกษตรกรใช้พื้นที่ท าการเพาะปลูกติดต่อมาเป็น
                  เวลานาน และขาดการบ ารุงรักษาท าให้ดินเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว การใช้ปุ๋ยหมักก็เป็นทางหนึ่งเพื่อรักษา
                  ความอุดมสมบูรณ์ให้ดินอยู่ในสภาพที่เหมาะสมแก่การปลูกพืชอย่างยั่งยืน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551) โดยท าให้
                  สมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพของดินดีขึ้น กล่าวคือ ดินมีความร่วนซุย มีการระบายอากาศดีขึ้น

                  ความสามารถในการอุ้มน้ าเพิ่มขึ้น เพิ่มความต้านทานการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดิน และลด
                  ความเป็นพิษของธาตุบางชนิด นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอาหารและแหล่งพลังงานแก่จุลินทรีย์ดิน มีผลท าให้
                  ปริมาณและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในดินเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง
                  ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชและการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา,  2544  )

                  ซึ่งกรมพัฒนาที่ดิน (2551) ได้แนะน าให้มีการปรับปรุงบ ารุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ย
                  พืชสด ในพื้นที่ปลูกก่อนใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 ท าให้มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคได้ดีขึ้น โดย
                  การแพร่ระบาดของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคพืชในดิน เป็นปัญหาที่มีความส าคัญอีกประการหนึ่ง พื้นที่
                  การเกษตรที่มีปริมาณอินทรียวัตถุต่ า จะมีระดับธาตุอาหารในดินไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช ต้นพืชมี

                  ความอ่อนแอท าให้มีความต้านทานต่อโรคพืชลดลง ประกอบกับเมื่อดินขาดอินทรียวัตถุจะส่งผลกระทบต่อ
                  กิจกรรมของจุลินทรีย์ดินโดยตรง โดยการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยพืชสดจะมี
                  ผลต่อการลดจ านวนประชากรเชื้อโรคในดิน ได้แก่ เชื้อรา Macrophomina phasiolina และ Rhizoctonia

                  solani  นอกจากนี้เชื้อรา Trichoderma sp. สามารถท าลายเซลล์ของเชื้อโรคพืช M. phasiolina, R. solani
                  และ S. rolfsii ได้โดยตรง (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551) นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าดินที่ใส่ปุ๋ยหมักจะช่วยยับยั้ง และ
                  ก าจัดโรคพืชที่มีสาเหตุมาจากไส้เดือนฝอย (nematodes) แบคทีเรีย และ เชื้อราในดินได้ (Postma et al., 2003)
                            ดังนั้น การศึกษาการใช้เชื้อจุลินทรีย์เพื่อควบคุมโรคโคนเน่าและล าต้นเน่าที่เกิดจากเชื้อรา
                  S.  rolfsii  ในกุยช่าย จึงเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรผู้ปลูกกุยช่ายที่ประสบ

                  ปัญหาดังกล่าว สามารถผลิตกุยช่ายที่มีคุณภาพได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ส่งผล
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19