Page 13 - ผลการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 ควบคุมโรคโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii ของกุยช่าย ในพื้นที่จังหวัดลำปาง
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            3




                            การควบคุมเชื้อรา S. rolfsii ในดินจากสภาพแปลงปลูกพืชนั้นกระท าได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากเชื้อ
                  ราสาเหตุโรคนี้สามารถท าให้เกิดโรคกับพืชผักได้หลายวงศ์ ได้แก่ ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ พริก แตง หอม เป็นต้น
                  เชื้อรามีชีวิตอยู่ข้ามฤดูปลูกในรูปของเม็ด sclerotium ซึ่งเป็นโครงสร้างพิเศษที่เกิดจากการประสานและรัดตัว

                  ของเส้นใย มีความคงทนต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป อายุของเม็ด sclerotium  จะยืนยาวได้นั้นขึ้นอยู่กับ
                  อุณหภูมิและความชื้นเป็นส าคัญ การปลูกพืชหมุนเวียนเป็นวิธีการหนึ่งในการควบคุมโรคพืชแต่ได้ผลน้อย ทั้งนี้
                  เพราะเชื้อรามีพืชอาศัยกว้างและสามารถอยู่กับเศษซากพืชได้ โดยการไถพรวนจะช่วยลดการเจริญของเชื้อ
                  ท าให้เชื้อราและเม็ด sclerotium  ฝังจมอยู่ในดิน ซึ่งหากลึกเกินกว่า 12 เซนติเมตรแล้วเชื้อราจะไม่สามารถ
                  เจริญได้ การใช้สารเคมีควบคุมเชื้อรา S.  rolfsii  นิยมใช้สารเคมี PCNB,  carboxin  และ benomyl  เป็นต้น

                  แต่การใช้สารเคมีดังกล่าวอย่างแพร่หลายมีผลท าให้เกิดพิษตกค้างในดินและเป็นอันตรายต่อเกษตรกร
                  นอกจากนี้ยังท าให้เชื้อสาเหตุเกิดการดื้อยาและมีผลเสียต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินอีกด้วย
                  (กณิษฐาและคณะ, 2543)

                            ในปัจจุบันการควบคุมโรคพืชโดย การใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์มาทดแทนสารเคมีนิยมใช้กันมากขึ้นและ
                  มีการวิจัยและพัฒนาจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคพืชเป็นจ านวนมาก เช่นเดียวกับกรมพัฒนา
                  ที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการวิจัยและพัฒนาผลิตเชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชในดิน
                  ได้แก่ สารเร่ง ซุปเปอร์ พด. 3 ที่ประกอบด้วยเชื้อรา Trichoderma  sp.  และเชื้อแบคทีเรีย Bacillus  sp.

                  ที่สามารถท าลายหรือยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ในดินที่เป็นสาเหตุท าให้เกิดอาการรากเน่าและโคนเน่าใน
                  พืช ท าให้ปริมาณเชื้อสาเหตุโรคพืชในดินลดลง นอกจากนี้ยังท าให้ดินมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชเพิ่มขึ้น
                  เนื่องจากจุลินทรีย์ผลิตกรดอินทรีย์เพื่อละลายแร่ธาตุในดินให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551)
                  โดยมีรายงานที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ การค้นพบจุลินทรีย์หลายชนิดที่สามารถเข้าท าลายเม็ดและเส้นใยที่เจริญ

                  ออกจากเม็ด sclerotium เช่น เชื้อรา Trichoderma harzianum โดย Chet and Banker, 1980; Cook
                  and  Baker,  1983;  Well  et  al.,  1972.)  และ T.  harmatum  (Elad  et  al.,  1980)  และ T.  viride
                  (Holliday,  1980)  นอกจากนี้พบว่า เชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas  aeruginose  และ Bacillus  subtilis
                  สามารถยับยั้งการงอก การเจริญและการสร้างเม็ด sclerotium ได้ (Brathwaite and Cunningham, 1982)

                  ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของวีระศักดิ์ (2548)  พบว่า การใช้เชื้อราปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคพืชผักที่ส าคัญ
                  ได้แก่ โรคเหี่ยวของมะเขือเทศที่เกิดจากเชื้อราสาเหตุ S.  rolfsii  โดยเชื้อรา Trichoderma  sp.  ร่วมกับเชื้อ
                  แบคทีเรีย Bacillus  subtilis  และ Streptomyces  จากการทดลองพบว่า การใช้จุลินทรีย์ทั้ง 3 ชนิดร่วมกัน

                  สามารถควบคุมโรคโคนเน่าของมะเขือเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับ ปฏิมาพรและคณะ  (2551)
                  ได้ทดสอบการใช้เชื้อ Bacillus  spp.  เพื่อยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อ Colletotrichum  capsici,
                  Cercospora  capcisi และ Sclerotium rolfsii  สาเหตุโรคแอนแทรคโนส โรคใบจุดและโรครากเน่า โคนเน่า
                  ของพริกชี้ฟ้าได้ ดังนั้นแนวทางหนึ่งในการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ ได้แก่ เชื้อรา Trichoderma  sp.  และเชื้อ
                  แบคทีเรีย Bacillus sp. สามารถควบคุมโรครากเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii ได้
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18