Page 12 - ผลการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 ควบคุมโรคโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii ของกุยช่าย ในพื้นที่จังหวัดลำปาง
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            2




                  โดยทั่วไปประมาณ  100–200 กิโลกรัมต่อพื้นที่ปลูก 100 ตารางเมตร หรือ 1,600–3,200 กิโลกรัมต่อไร่
                  (ส านักงานการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงราย, 2551)
                            ในการปลูกกุยช่ายมักพบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคและศัตรูพืชที่ส าคัญคือ โรคโคนเน่า

                  เกิดจากเชื้อราสาเหตุโรคพืช Sclerotium  rolfsii  Sacc.  โดยพืชจะแสดงอาการเป็นโรคได้ตั้งแต่ระยะกล้า
                  จนกระทั่งเก็บผลผลิต โดยเชื้อราสาเหตุจะเข้าท าลายบริเวณรากหรือโคนต้นแล้วลุกลามไปยังส่วนของโคนต้น
                  ขึ้นไป บริเวณที่ถูกท าลายจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและน้ าตาลตามล าดับ เนื้อเยื่อจะผุเปื่อย ถ้าอากาศชื้นมากๆ
                  จะมีเส้นใยสีขาวแผ่ปกคลุมบริเวณโคนต้น พร้อมกับมีเม็ดกลมๆ ขนาดเล็กสีน้ าตาลคล้ายเมล็ดผักกาดเกาะอยู่
                  ตามโคนต้น จะระบาดมากในฤดูฝนหรือบริเวณโคนต้นที่ชื้นและอากาศไม่ถ่ายเท โดยเชื้อสาเหตุโรคนี้สามารถ

                  แพร่ระบาดไปได้ง่าย โดยอาจจะติดไปกับดิน เศษซากพืชบนต้นพืชที่เป็นโรค สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของ
                  เชื้อรา S.  rolfsii  จะเจริญได้ดีในที่มีความชื้นสูง ชอบดินร่วนปนทราย อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 30–50 องศา
                  เซลเซียส ความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6–7 (วีระศักดิ์, 2548)

                         2.  เชื้อราสาเหตุโรคพืช Sclerotium rolfsii
                            การแพร่กระจายของเชื้อรา  S.  rolfsii  แพร่กระจายอยู่ในเขตร้อนหรือค่อนข้างร้อน  หรือบริเวณ
                  อื่นๆ  ของโลกที่มีอุณหภูมิอบอุ่น  ได้แก่  ตอนใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา  ยุโรปตอนใต้เขตทะเล
                  เมดิเตอร์เรเนียน ฮาวาย อัฟริกา อินเดีย ญี่ปุ่น (Feneira and Boley, 1992) และประเทศไทยโดยสภาวะ

                  แวดล้อมที่มีผลต่อการเจริญ และการสร้าง sclerotia
                            1. อุณหภูมิ เชื้อรา S. rolfsii อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นของโลก อุณหภูมิที่เหมาะสมของการเจริญของ
                  เส้นใยจึงอยู่ระหว่าง  8-40  องศาเซลเซียส  อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดของการเจริญของเส้นใย  และการสร้าง

                  sclerotia  ระหว่าง  27-30  องศาเซลเซียส  (Zoberi,  1980)  เส้นใยถูกท าลายที่  0  องศาเซลเซียส
                  ส่วน sclerotia สามารถรอดชีวิตที่อุณหภูมิ –10 องศาเซลเซียส
                            2. ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) เชื้อรา S. rolfsii เจริญได้ดีในสภาพความเป็นกรด pH ที่เหมาะสม
                  สาหรับการเจริญของเส้นใยคือ 3.0-5.0 sclerotia จะงอกได้ดีที่ pH อยู่ระหว่าง 2.0-5.0 และการงอกจะถูก

                  ยับยั้งที่ pH > 7.0
                            3. ความชื้น เชื้อรา S. rolfsii ต้องการความชื้นสูงในการเจริญของเส้นใย ถ้าความชื้นต่ ากว่าจุด
                  อิ่มตัวจะยับยั้งการงอกของ sclerotia แต่มีการศึกษาที่ยืนยันได้ว่า sclerotia จะงอกได้ดีที่สุดเมื่อมีความชื้น

                  สัมพัทธ์อยู่ระหว่าง 25-35 เปอร์เซ็นต์  (Feneira and Boley, 1992)
                            ลักษณะการเข้าท าลายต้นพืช โดยเชื้อรา S. rolfsii จะเข้าท าลายพืชบริเวณโคนต้นระดับดินหรือใต้
                  ผิวดินเล็กน้อย  พืชจะแสดงอาการแผลแห้งตายรอบล าต้น  บริเวณที่เชื้อเข้าท าลายจะพบเส้นใยของเชื้อรา
                  เป็นขุยหยาบสีขาวขึ้นคลุมแผล รอบโคนต้นระดับดินจะคอดและอาจพบเม็ดแข็งขนาดเท่าเมล็ดผักกาดของเม็ด
                  sclerotia ขึ้นติดอยู่กับขุยสีขาวนี้ ถ้าเชื้อเข้าท าลายพืชระยะต้นกล้าหรือระยะต้นอ่อน ล าต้นจะคอดกิ่วและหัก

                  พับแล้วพืชจะแห้งตายในเวลาต่อมาเหมือนกับอาการโรค damping off ในกรณีที่เป็นพืชที่มีผลที่อยู่ชิดดินเช่น
                  มะเขือเทศและพืชตระกูลแตง ถ้าถูกเชื้อเข้าท าลายจะเกิดแผลยุบตัวลง ขอบแผลสีเหลืองผลจะเน่าอย่างรวดเร็ว
                  มักพบเส้นใยและเม็ด sclerotia ขึ้นคลุมเต็มแผล (ศุภลักษณ์, 2536)
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17