Page 9 - ผลการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 ควบคุมโรคโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii ของกุยช่าย ในพื้นที่จังหวัดลำปาง
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                  ชื่อโครงการวิจัย   ผลการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 ควบคุมโรคโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา
                                    Sclerotium rolfsii ของกุยช่าย ในพื้นที่จังหวัดล าปาง
                                    Effect of Microbial Activator Super LDD.3 for Controlling Chinese Chive

                                    Stem Rot Causing by Sclerotium rolfsii in Lampang Area
                  ทะเบียนวิจัยเลขที่  57 59 17 09 040000 020 102 02 11
                  ผู้ด าเนินการ     นางสาวกัญญาภัทร พอสม             Miss Kanyapat Phorsom
                  ผู้ร่วมด าเนินการ   นางสาวกรวิกา รัตนนพนันทน์      Miss Kornviga Rattananoppanun

                                                           บทคัดย่อ

                            การศึกษาการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด. 3 ควบคุมโรคโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium  rolfsii
                  ของกุยช่าย ในพื้นที่จังหวัดล าปาง เริ่มต้นเดือนตุลาคม 2556 สิ้นสุดเดือนกันยายน 2558 เพื่อศึกษา

                  เปรียบเทียบผลของการควบคุมและลดความรุนแรงจากการเข้าท าลายของเชื้อรา S.  rolfsii  โดยการใช้
                  เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคโคนเน่าของกุยช่าย วางแผนการทดลองแบบ Randomized
                  Complete Block Design จ านวน 4 ซ้ า 6 ต ารับการทดลอง ประกอบด้วย T1) แปลงควบคุม (ไม่ใช้ปุ๋ย+ไม่ใส่

                  เชื้อ Sclerotium  rolfsii)  T2) ใช้ปุ๋ยและสารเคมีตามวิธีการของเกษตรกร  T3) ใช้ปุ๋ยหมักที่ขยายเชื้อสารเร่ง
                  ซุปเปอร์ พด.3 อัตรา 6.25 กรัมต่อตารางเมตร T4) ใช้เชื้อสด Trichoderma  อัตรา 50 กรัมต่อตารางเมตร
                  T5) ใช้ชีวภัณฑ์เชื้อรา Trichoderma  อัตรา 50 กรัมต่อตารางเมตร และ T6) ใช้ชีวภัณฑ์แบคทีเรีย Bacillus
                  subtilis  อัตรา 0.67 กรัมต่อตารางเมตร ผลการทดลองพบว่า การประเมินความรุนแรงของโรคโคนเน่าของ

                  กุยช่าย ในต ารับการทดลองที่ 1 แปลงควบคุม (ไม่ใช้ปุ๋ย+ไม่ใส่เชื้อ Sclerotium  rolfsii) มีเปอร์เซ็นต์การเข้า
                  ท าลายของโรคน้อยที่สุด คือ 27.50 เปอร์เซ็นต์ และต ารับการทดลองที่มีแนวโน้มของเปอร์เซ็นต์การเข้าท าลาย
                  ของโรคโคนเน่ามากที่สุด คือ ต ารับการทดลองที่ 6 เท่ากับ 48.32 เปอร์เซ็นต์ จะเห็นได้ว่าการควบคุมโรคโคน
                  เน่าของกุยช่าย เพื่อลดการแพร่ระบาดและความรุนแรงของโรคโดยต ารับการทดลองที่ 3 ที่ใช้สารเร่งซุปเปอร์

                  พด. 3 ต ารับการทดลองที่ 4 ใช้เชื้อสด Trichoderma อัตรา 50 กรัมต่อตารางเมตร และต ารับการทดลองที่ 5
                  ใช้ชีวภัณฑ์เชื้อรา Trichoderma อัตรา 50 กรัมต่อตารางเมตร พบว่า มีเปอร์เซ็นต์การเข้าท าลายของโรคโคน
                  เน่าของกุยช่ายไม่แตกต่างกันทางสถิติกับวิธีการของเกษตรกรซึ่งไม่มีการใส่เชื้อโรคโคนเน่า แต่ต ารับการทดลอง
                  ที่ 3 มีแนวโน้มที่จะยับยั้งความรุนแรงของโรคโคนเน่าของกุยช่ายมากที่สุดเท่ากับ 56.26  เปอร์เซ็นต์ ส่วน

                  การศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของกุยช่ายโดยการนับจ านวนต้นต่อกอเฉลี่ยและวัดความสูงเฉลี่ยของต้นในช่วง
                  ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตกุยช่าย พบว่า ทุกต ารับการทดลองมีจ านวนต้นต่อกอเฉลี่ยและความสูงของต้นไม่แตกต่าง
                  กันทางสถิติ คือ มีจ านวนต้นต่อกอเฉลี่ยอยู่ในพิสัย 4.51-4.59 ต้นต่อกอ และมีความสูงของต้นเฉลี่ยอยู่ในพิสัย

                  18.61-18.88. เซนติเมตร ตามล าดับ  ดังนั้นต ารับการทดลองที่ 3  การใช้ปุ๋ยหมักที่ขยายเชื้อสารเร่งซุปเปอร์
                  พด.3 จึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด เนื่องจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.3 ประกอบด้วย เชื้อ Trichoderma  sp.  และเชื้อ
                  Bacillus  sp.  ที่สามารถท าลายและยับยั้งการเจริญของเชื้อสาเหตุของโรคพืช ลด และควบคุมปริมาณเชื้อ
                  สาเหตุโรคพืชในดิน ท าให้ดินมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชเพิ่มขึ้น และส่งผลให้รากพืชแข็งแรง
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14