Page 11 - ผลการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 ควบคุมโรคโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii ของกุยช่าย ในพื้นที่จังหวัดลำปาง
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            1




                                                       หลักการและเหตุผล

                         กุยช่ายเป็นพืชผักที่ปลูกง่ายและเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี สามารถเก็บดอกจ าหน่ายและเพิ่มมูลค่าด้วย
                  การท าเป็นกุยช่ายขาวได้ด้วย อีกทั้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง สามารถน ามาประกอบอาหารได้หลาย
                  ประเภท ปัจจุบันกระแสความนิยมการบริโภคพืชผักสมุนไพรมีค่อนข้างสูง กุยช่ายจึงเป็นพืชผักที่มีผู้ให้ความ
                  สนใจบริโภคกันเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะช่วยท าให้ระบบขับถ่ายในร่างกายดีขึ้น ยังช่วยในการท าความ

                  สะอาดระบบทางเดินอาหารได้ การปลูกกุยช่ายสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้อย่างต่อเนื่อง จึงเป็น
                  ทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ  กุยช่ายเป็นพืชที่เจริญได้ดีในดินร่วนปนทราย หรือปนดินเหนียว มีปริมาณ
                  อินทรียวัตถุสูง มีการระบายน้ าดี และความเป็นกรดเป็นด่างของดินอยู่ระหว่าง 6.5–6.8 แต่มักประสบปัญหา

                  การระบาดของโรคโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii ดังนั้นเพื่อเป็นการลดการแพร่ระบาดของเชื้อ
                  สาเหตุโรคโคนเน่าของกุยช่าย การใช้เชื้อจุลินทรีย์มาควบคุมโรคจึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่มีประสิทธิภาพและ
                  น่าสนใจ เช่น สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 ซึ่งประกอบด้วยเชื้อรา Trichoderma  sp.  และเชื้อแบคทีเรีย Bacillus
                  sp.  ที่สามารถท าลายหรือยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ในดินที่เป็นสาเหตุท าให้เกิดอาการรากเน่าและโคน
                  เน่าในพืชได้ รวมถึงการปรับปรุงสมบัติของดินทั้งทางด้านเคมี กายภาพ และชีวภาพให้มีสภาพที่ไม่เหมาะสมต่อ

                  การเจริญเติบโตของเชื้อสาเหตุโรคพืชในดิน ก็สามารถส่งผลให้เกษตรกรปลูกกุยช่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                  ท าให้ได้ผลผลิตและคุณภาพของกุยช่ายตรงตามความต้องการของตลาด


                                                          วัตถุประสงค์

                         เพื่อศึกษาการควบคุมโรคโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii ของกุยช่ายโดยใช้จุลินทรีย์ต่างๆ

                                                        การตรวจเอกสาร
                         1.  กุยช่าย

                            กุยช่าย (Chinese  Chive)  เป็นพืชล้มลุกอยู่ในวงศ์ Alliaceae  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allium
                  tuberosum  Rottler  กุยช่ายจัดได้ว่าเป็นพืชเสริมรายได้ที่ส าคัญประเภทหนึ่ง ทั้งนี้เพราะสามารถปลูกได้ทุก
                  ภาคของประเทศและให้ผลผลิตตลอดทั้งปี โดยสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เป็นเวลานานประมาณ 3 ปี หากมี
                  การดูแลรักษาที่ดี โดยพื้นที่ปลูกจ าเป็นต้องมีการจัดการด้านดินและน้ าเป็นอย่างดี ซึ่งพื้นที่ที่เหมาะสมในการ

                  ปลูกกุยช่ายควรเป็นดินดี มีน้ าสมบูรณ์ ในฤดูฝนน้ าไม่ท่วมขัง เพราะท าให้รากเน่าได้รับความเสียหายได้
                  ลักษณะดินที่เหมาะสมควรเป็นดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนปนดินเหนียว มีปริมาณอินทรียวัตถุสูง ความเป็น
                  กรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.5-6.8 มีการระบายน้ าและอากาศได้ดี นอกจากนี้ไม่ควรมีวัชพืชพวกหญ้าแห้วหมูใน

                  ปริมาณมาก เพราะท าให้เกิดปัญหาการแย่งอาหารของพืชได้ ในการปรับปรุงดินส าหรับการปลูกกุยช่ายที่มี
                  สภาพความเป็นกรดสูงควรใส่ปูนขาว หรือโดโลไมท์ หากดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ าควรใส่ปุ๋ยคอกที่มีการ
                  สลายตัวดี ควรเป็นปุ๋ยมูลไก่หรือมูลเป็ด เพราจะมีเมล็ดวัชพืชติดมาน้อยกว่าปุ๋ยมูลวัว อัตราการใส่ปุ๋ยคอก
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16