Page 24 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดินทรายชายทะเลเพื่อปลูกคะน้าในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        13







                       ทางด้านการเกษตรเพียงอย่างเดียวแต่ยังส่งผลกระทบทางด้านสังคมและทางด้านเศรษฐกิจซึ่งคล้าย
                       กับเป็นปัญหาลูกโซ่ เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่ไม่สามารถใช้พื้นที่ท า
                       การเพาะปลูกได้อย่างเต็มศักยภาพ ท าให้เกิดปัญหาการทิ้งพื้นที่ให้ว่างเปล่าและเข้าเมืองไปขาย
                       แรงงานส่งผลท าให้เกิดปัญหาทางด้านสังคมและเศรษฐกิจตามมาและปัจจุบันจ านวนการเพิ่มของ

                       ประชากรของประเทศมีเพิ่มขึ้นทุกปี ความต้องการในการบริโภคอาหารจึงเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นจึง
                       จ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาที่ดินทั้งในส่วนที่ใช้ประโยชน์อยู่แล้ว และส่วนที่ยัง
                       ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้มีประสิทธิภาพในการผลิตต่อหน่วยพื้นที่สูงขึ้น (กิตติศักดิ์, 2551)  นอกจากนี้การ

                       จัดการแก้ไข โดยการเลือกปลูกพืชทนเค็ม (เช่น หน่อไม้ฝรั่ง มะเขือเทศ กุยช่าย บรอคโคลี่ ผักคะน้า)
                       ให้น้ าระบบน้ าหยด คลุมดินเพื่อรักษาความชื้น และเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์  และ
                       วัสดุอินทรีย์เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด แกลบ ขี้เถ้าแกลบ กากอ้อย  (กรมส่งเสริมการเกษตร,
                       2559)
                                               การแก้ไขปัญหาดินเค็มนั้นมีหลายหน่วยงานได้พยายามศึกษาหาวิธีแก้ไข

                       ปัญหาดินเค็ม เช่น การปรับปรุงบ ารุงดิน การปรับปรุงพันธุ์ข้าว การเลือกปลูกพืชทนเค็ม ซึ่งช่วย
                       บรรเทาปัญหาดินเค็มได้บางส่วนเท่านั้น (ลักขณา, 2552) การปรับปรุงบ ารุงดินโดยการเพิ่มปริมาณ
                       อินทรียวัตถุเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยลดความเค็มของดินได้เนื่องจากในระหว่างการสลายตัวของ

                       อินทรียวัตถุโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์จะเกิดสภาวะการเป็นกรด ซึ่งกรดที่เกิดขึ้นจะท าให้แคลเซียม
                       คาร์บอเนตในดินแตกตัวเป็นไอออน แคลเซียมไอออนที่เกิดขึ้นจะไปแทนที่โซเดียมในสารละลายดินได้
                       แคลเซียมคลอไรด์และโซเดียมคาร์บอเนต มีผลท าให้ความเค็มในดินลดลง (Tejada  et  al.,  2006)
                       การเพิ่มวัสดุอินทรีย์ให้กับดินท าได้โดยการหาวัสดุเหลือใช้ที่หาได้ง่ายหรือมีราคาถูกในท้องถิ่น เช่น

                       ฟางข้าว แกลบ เศษวัชพืช ปุ๋ยคอก เป็นต้น (ลักขณา, 2552)
                                         2.6.2  ดินเค็มชายทะเล
                                              ดินเค็มชายทะเล  หมายถึง ดินที่มีปริมาณเกลือสูงมากพอที่จะท าอันตรายต่อ
                       พืชเศรษฐกิจที่จะน าไปปลูกพื้นที่ดินนี้จะพบตามชายฝั่งทะเลส่วนใหญ่ยังมีน้ าทะเลขึ้นลงหรือท่วมอยู่

                       วิธีการสังเกตพื้นที่ดินเค็ม  เป็นพื้นที่ซึ่งไม่ห่างจากฝั่งทะเลเท่าใดนัก  และมีน้ าทะเลขึ้นท่วมถึงมาก่อน
                       บนผิวดินมักพบคราบเกลือสีขาวปรากฏอยู่บนผิวดินเป็นหย่อม ๆ หรืออาจพบเนื้อดินฟุูงกระจายเม็ด
                       ดินแตกสลายเมื่อเปียกน้ าจะพองตัว เนื่องจากเนื้อดินมีเกลือโซเดียมคาร์บอเนตสูง บางแห่งเป็นดิน
                       แน่นทึบไม่มีพืชขึ้นอยู่เลย  บริเวณพื้นที่ดินเค็มจะมีพืชที่สามารถทนเค็มได้ดี ขึ้นอยู่ซึ่งเราสามารถบอก

                       ได้ว่า ถ้ามีพืชพรรณชนิดนี้ขึ้นบริเวณนั้นๆ จะเป็นดินเค็ม  เช่น ชะคราม  จาก  แสม  โกงกาง  ล าพู
                       ฯลฯ  นอกจากนี้พืชที่ปลูกบริเวณนั้นจะตายเป็นหย่อมๆ  น้ าบริเวณนั้นอาจมีรสกร่อย  ในส่วนของ
                       การปรับปรุงดินเค็มชายทะเลนั้น  ดินเค็มชายทะเลโดยทั่วไปไม่สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้แม้ว่าดิน

                       จะมีศักยภาพหรือมีความอุดมสมบูรณ์ก็ตาม  วิธีการแก้ปัญหาได้แก่ การสร้างคันดินกั้นน้ าทะเลพร้อม
                       ประตูระบายน้ า  ขุดคลองระบายน้ า  ล้างดิน  ลดระดับน้ าใต้ดิน  ส านักนิเทศและถ่ายทอดเทคโนโลยี
                       กรมพัฒนาที่ดิน (2550)
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29