Page 33 - การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามสำหรับการจัดการปุ๋ยเพื่อการปลูกพืชผักในจังหวัดลำพูน
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       20




                                                   ก่อนปลูก     หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต



                            2.5      2.3  2.2    2.3  2.2   2.2 2.1     2.3  2.1   2.2  2.0    2.0 2.0
                                2
                        Organic Matter (%)  1

                                1.5



                            0.5


                              0
                                       1          2          3           4          5           6
                                                        ต ารับการทดลอง



                       ภาพที่ 2  เปรียบเทียบปริมาณอินทรียวัตถุ (Organic Matter) ในดินก่อนปลูกและหลังเก็บเกี่ยว
                                ผลผลิตของแปลงปลูกผักคะน้า พ.ศ. 2557


                              การเปรียบเทียบปริมาณอินทรียวัตถุในดินก่อนปลูก และดินหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตของแปลง
                       ปลูกผักคะน้า พ.ศ. 2557 พบว่าปริมาณอินทรียวัตถุลดลงเล็กน้อยในต ารับการทดลองที่ 1, 2, 3, 4

                       และ 5 ของดินหลังเก็บเกี่ยวผลผลิติ โดยมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับดินก่อนปลูก
                       และการเปลี่ยนแปลงของอินทรียวัตถุในดินหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งการใส่ปุ๋ยในอัตราที่แตกต่างกันในแต่

                       ละต ารับการทดลอง ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอินทรียวัตถุในดิน ส่วนต ารับการทดลองที่ 6 ปริมาณ
                       อินทรียวัตถุ ในดินก่อนปลูกมีเท่ากับดินหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตผักคะน้า ดังภาพที่ 2

                              ด้านการเปรียบเทียบ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ได้ในดินก่อนปลูก และหลังเก็บเกี่ยว
                       ผลผลิตของแปลงปลูกผักคะน้า พ.ศ. 2557 พบว่าในต ารับการทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส ซึ่งได้แก่

                       ต ารับการทดลองที่ 1, 4 และ 5 มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ได้ในดินหลังเก็บเกี่ยวมีค่าลดลง
                       เนื่องมาจากการดูดใช้ของพืช ส่วนในต ารับการทดลองที่ 2 และ 3 ซึ่งมีการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส มีปริมาณ
                       ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ได้ในดินหลังเก็บเกี่ยวมีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับดินก่อนปลูก และใน
                       ต ารับการทดลองที่ 6 ทั้งในดินก่อนปลูกและหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์
                       ได้มีค่าสูงมาก ดังตารางที่ 3 และตารางที่ 4

                              เมื่อเปรียบเทียบปริมาณโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้   ในดินก่อนปลูกและหลังเก็บ
                       เกี่ยวผลผลิตของแปลงปลูกผักคะน้า  พ.ศ. 2557  พบว่าในดินหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตมีปริมาณ
                       โพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ ลดลงในทุกต ารับการทดลอง ยกเว้นต ารับการทดลองที่ 2  ที่มี

                       ปริมาณโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับดินก่อนปลูก ส่วนในต ารับ
                       การทดลองที่  6    ทั้งในดินก่อนปลูกและหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ปริมาณโพแทสเซียมที่สามารถ
                       แลกเปลี่ยนได้มีค่าสูงมาก ดังตารางที่ 3 และตารางที่ 4
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38