Page 28 - การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามสำหรับการจัดการปุ๋ยเพื่อการปลูกพืชผักในจังหวัดลำพูน
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       15







                       ปริมาณ P  และ K ในผักที่ตัดแต่ง เศษผัก ส่วนเหนือดิน ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตใช้พื้นที่เก็บเกี่ยว 3
                       ตารางเมตรต่อแปลง ส่วนหอมแบ่งซึ่งไม่มีการตัดแต่งผลผลิต จึงมีการรายงานผลผลิต น้ าหนักสดและ
                       น้ าหนักแห้ง โดยไม่มีเศษเหลือจากการเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ยังเก็บข้อมูลด้านดินหลังเก็บเกี่ยว โดย
                       วิเคราะห์ปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ได้ โพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ และ

                       ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน  วิเคราะห์ความแตกต่างของข้อมูลโดยใช้ F-test  และเปรียบเทียบ
                       ข้อมูลหลังเก็บเกี่ยว โดยวิเคราะห์แตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ least significant difference (LSD) ที่
                       P<0.05


                       วิธีการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดินในห้องปฏิบัติการ
                              1.  ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) โดยใช้อัตราส่วนระหว่างดินต่อน้ าเท่ากับ  1:1
                       (Peech,1965)
                              2. ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (OM) โดยวิธี Walkey and  Black modified (Walkey and

                       Black, 1947) แล้วค านวณหาปริมาณอินทรียวัตถุในดิน จากสูตร OM = OC x 1.724
                              3. ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ได้ (available phosphorus) โดยวิธี Bray II สกัดด้วย
                       0.03 N NH F, 0.1 N HCl (Bray and Kurtz,1945)
                                4
                              4. ปริมาณโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ (Exchangeable potassium) โดยว วิธีการ
                       สกัดด้วย 1 N Ammonium acetate pH 7.0 (Pratt, 1965)

                       การเก็บตัวอย่าง
                              1.  เก็บตัวอย่างดินก่อนการทดลอง  น าไปวิเคราะห์ด้วยชุดตรวจดินภาคสนาม กรมพัฒนา

                       ที่ดิน เพื่อน ามาประเมินปริมาณธาตุอาหารที่ต้องใส่ และหลังการทดลอง เพื่อส่งวิเคราะห์สมบัติทาง
                       เคมีดิน ในห้องปฏิบัติการ ดังนี้ ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ปริมาณ
                       ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน ปริมาณโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้

                              2. ข้อมูลผลผลิตในระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยเก็บข้อมูลน้ าหนักสดและน้ าหนักแห้งของ
                       ผลผลิตจากพื้นที่เก็บเกี่ยวขนาด 3 ตารางเมตร หลังจากนั้นสุ่มเก็บตัวอย่างผัก แยกส่วนที่ตัดแต่ง และ
                       ส่วนที่คัดออก น าไปวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารหลักที่ติดไปกับผลผลผิตพืช (ปริมาณธาตุอาหารหลัก
                       ที่น าออกไปจากพื้นที่)


                       การวิเคราะห์ข้อมูล
                              ข้อมูลที่เก็บบันทึกในรอบ 2 ปี ได้น ามาวิเคราะห์ความแปรปรวนของคุณสมบัติด้านต่างๆ ที่มี
                       ผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33