Page 29 - การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามสำหรับการจัดการปุ๋ยเพื่อการปลูกพืชผักในจังหวัดลำพูน
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       16







                                                   ผลการทดลองและวิจารณ์

                              จากการศึกษาการใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนาม กรมพัฒนาที่ดิน ส าหรับการจัดการ

                       ปุ๋ยในการปลูกพืชผักในจังหวัดล าพูน ซึ่งเริ่มด าเนินงานตั้งแต่ พ.ศ. 2557 สิ้นสุด พ.ศ. 2558
                       รายละเอียดมีดังต่อไปนี้
                              1. การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน


                                 1.1 ผักคะน้า พ.ศ. 2557
                                       1) ดินก่อนการทดลอง
                                     จากการเก็บตัวอย่างดินก่อนการทดลองปลูกผักคะน้า โดยวิเคราะห์สมบัติทางเคมีใน
                       ห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง  ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็น

                       ประโยชน์ และปริมาณโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ พบว่า ดินในต ารับการทดลองที่ 1-5 มีค่า
                       ความเป็นกรดเป็นด่าง อยู่ในช่วง 5.7-6.4 ซึ่งจัดอยู่ในระดับกรดปานกลาง-กรดเล็กน้อย ปริมาณ
                       อินทรียวัตถุในดิน อยู่ในช่วง 2.2-2.3 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในระดับปานกลาง  ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็น

                       ประโยชน์ต่อพืช อยู่ในช่วง 66-83 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม อยู่ในระดับสูงมาก  และปริมาณโพแทสเซียม
                       ที่สามารถแลกเปลี่ยนได้  อยู่ในช่วง 163-254  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม อยู่ในระดับสูงมาก  ส าหรับต ารับ
                       การทดลองที่ 6 วิเคราะห์ดินด้วยชุดตรวจดินภาพสนาม กรมพัฒนาที่ดิน (LDD soil test kit) พบว่า
                       ความเป็นกรดเป็นด่าง มีค่า 6.0 ซึ่งจัดอยู่ในระดับกรดปานกลาง ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน เท่ากับ
                       2.0 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในระดับปานกลาง  ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืช มีมากกว่า 45

                       มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม อยู่ในระดับสูงมาก  และปริมาณโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้  มี
                       มากกว่า 120  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม อยู่ในระดับสูงมาก  ดังตารางที่ 3
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34