Page 38 - การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการลดการเผาพื้นที่โล่งเตียนเพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน บ้านดอน หมู่ที่ 5 ตำบลสวด อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน
P. 38
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
22
ผลการวิเคราะห์ดินก่อนด าเนินงาน ก่อนการด าเนินงานก่อสร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ า ได้มีการ
ตรวจสอบคุณภาพดิน โดยเก็บตัวอย่างดินในพื้นที่ที่จะก่อสร้างส่งวิเคราะห์ในกลุ่มชุดดินที่มีมากที่สุดและ
รองลงมาซึ่งประกอบด้วยกลุ่มชุดดิน 62 และกลุ่มชุดดิน 47D ทั้งสองกลุ่มชุดดินเป็นพื้นที่โล่งเตียน
เกษตรกรใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกพืชไร่ (ข้าวโพด) โดยเก็บตัวอย่างดินในพื้นที่ที่จะก่อสร้างส่งวิเคราะห์
พบว่า กลุ่มชุดดิน 62 มีสภาพความเป็นกรดจัด (ค่า pH 5.3) มีปริมาณอินทรียวัตถุต่ า (1.0 เปอร์เซ็นต์)
ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ า (7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้มี
ปริมาณต่ า (27 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)
กลุ่มชุดดิน 47D มีสภาพความเป็นกรดจัด (ค่า pH5.3) มีปริมาณอินทรียวัตถุต่ า (0.8 เปอร์เซ็นต์)
ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์และปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้มีปริมาณต่ า (10 และ 25
มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมตามล าดับ) ดังรายละเอียดในตารางที่ 5
ตารางที่ 5 ผลการวิเคราะห์ดินก่อนด้าเนินงาน
กลุ่มชุดดิน สมบัติทางเคมีที่ส้าคัญ
pH OM. P K
-1)
(%) (mgkg (mgkg )
-1
62 5.3 1.0 7 27
47D 5.3 0.8 10 25
2.5 การวิเคราะห์สภาพพื้นที่
โครงการที่มีกิจกรรมการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ า มีหลักเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ ดังนี้
2.5.1 เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาในด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น พื้นที่มีความลาดชัน มีปัญหาด้าน
การชะล้างพังทลายของดิน ดินตื้น ฯลฯ
2.5.2 เป็นพื้นที่ตัวแทนเพื่อให้เกษตรกรข้างเคียงได้ศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหา
2.5.3 เกษตรกรให้ความร่วมมือ
2.5.4 เป็นพื้นที่ที่เกษตรกรใช้ประโยชน์ที่ดินแล้ว แต่ไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าหรือ
ระบบการปลูกพืชเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ าในระบบเกษตร
การวิเคราะห์พื้นที่ด าเนินการในพื้นที่เป้าหมายเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาในด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน คือ
1) สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เนินเขา ความลาดชัน 20-35 เปอร์เซ็นต์
2) ส่วนใหญ่เกษตรกรใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกพืชไร่ (ข้าวโพด ) ไม่มีมาตรการอนุรักษ์
ดินและน้ า