Page 32 - การจัดการทรัพยากรดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                                                                     ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ  19



                             4)  การปลูกพืชปุ๋ยสดในระบบพืชคลุมดิน (cover crops) การปลูกพืชในระบบนี้ มักเป็นการ
                  ปลูกพืชปุ๋ยสดตระกูลถั่ว ชนิดที่มีล�าต้นเป็นเถาเลื้อย เพื่อให้เจริญเติบโตปกคลุมผิวดิน ท�าให้น�้าฝนที่ตกลงมา

                  กระทบผิวดินไม่รุนแรง เพราะจะกระทบถูกกิ่งใบของพืชปุ๋ยสดก่อนถึงดิน ช่วยไม่ให้เกิดการชะล้างหน้าดินได้
                  นอกจากการปลูกพืชในระบบนี้จะช่วยลดและป้องกันการพังทลายของดินแล้ว ยังช่วยในการป้องกันก�าจัดวัชพืช
                  ที่เกษตรกรไม่ต้องการได้ด้วย เนื่องจากพืชปุ๋ยสดเหล่านี้จะเจริญเติบโตปกคลุมพื้นที่จนวัชพืชอื่นๆ ไม่สามารถเจริญ

                  งอกงามได้ อีกประการหนึ่งยังมีประโยชน์ในการปรับปรุงบ�ารุงดิน เพราะกิ่ง ก้าน ใบ ของพืชเหล่านี้เมื่อร่วงลงสู่ดิน
                  จะถูกจุลินทรีย์ในดินย่อยสลายเป็นอินทรียวัตถุ และช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์แก่พืชหลักได้

                  นอกจากนี้ยังช่วยอนุรักษ์น�้าและดิน โดยลดการระเหยของน�้าจากหน้าดินได้ ท�าให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ

                        7.2  การแก้ไขดินที่เป็นดินตื้นเพื่อน�ามาใช้ท�าการเกษตร
                            ดินตื้น คือ ดินที่มีชั้นลูกรัง ก้อนกรวด หรือเศษหินปะปนอยู่ในเนื้อดินเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 35

                  โดยปริมาตร หรือพบชั้นมาร์ล หรือชั้นหินพื้นอยู่ตื้นกว่า 50 เซนติเมตร จากผิวดิน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการชอนไช
                  ของรากพืช การไถพรวน ท�าให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตต�่า โดยมีแนวทางการแก้ไขดินตื้นและ

                  การใช้ประโยชน์ ดังนี้

                           7.2.1   เลือกพื้นที่ท�าการเกษตรที่มีหน้าดินไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร และไม่มีก้อนกรวดหรือ
                  ลูกรังกระจัดกระจายอยู่ที่ผิวดินมากนัก ส่วนพื้นที่ที่เป็นดินตื้นมาก และมีเศษชิ้นส่วนของก้อนกรวด หินเนื้อหยาบ

                  ปะปนอยู่ผิวหน้าดินจ�านวนมากนั้นไม่เหมาะส�าหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ ควรใช้ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ โดยการปลูก
                  หญ้าผสมถั่ว หรือการปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ตามแนวพระราชด�าริว่า

                      “...การปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ ให้เขาอยู่ได้ ให้ใช้วิธีปลูกไม้ 3 อย่าง แต่มีประโยชน์

                        4 อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้ ไม้เศรษฐกิจ โดยปลูกรองรับการชลประทานปลูกรับซับน�้า
                  และปลูกอุดช่วงไหลตามร่องห้วยโดยรับน�้าฝนอย่างเดียวประโยชน์ที่ 4 คือ ได้ระบบอนุรักษ์ดิน และน�้า...”

                             1) ลักษณะไม้ 3 อย่าง คือ

                                   (1)  ไม้ใช้สอยและเศรษฐกิจ เป็นชนิดไม้ที่ชุมชนน�าไปใช้ในการปลูกสร้างบ้านเรือน โรงเรือน
                  เครื่องเรือน คอกสัตว์ เครื่องมือในการเกษตร เช่น เกวียน คันไถ ด้ามจอบ เสียม และมีด รวมทั้งไม้ที่สามารถ

                  น�ามาท�าเป็นเครื่องจักรสาน กระบุง ตะกร้า เพื่อน�าไปใช้ในครัวเรือน และเมื่อมีพัฒนาการทางฝีมือก็สามารถ
                  จัดท�าเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน น�าไปจ�าหน่ายเป็นรายได้ของชุมชน ซึ่งเรียกว่า เป็นไม้เศรษฐกิจของชุมชน เช่น

                  มะขามป่า สารภี ซ้อ ไผ่หก ไผ่ไร่ ไผ่บง ไผ่ซาง มะแฟน สัก ประดู่ กาสามปีก จ�าปี จ�าปา พะยอม ตะเคียน เป็นต้น
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37