Page 27 - การจัดการทรัพยากรดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
P. 27
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
14 ก า ร จั ด ก า ร ท รั พ ย า ก ร ดิน
วัสดุที่ต้องเตรียม
1. ซากพืช
ได้แก่ ใบไม้ ผักตบชวา หญ้าแห้ง ล�าต้นถั่ว ล�าต้นข้าวโพด ใบ และต้นมันส�าปะหลัง กระดูก
ป่นตามที่มี สับเป็นท่อนๆ สั้นๆ เพื่อให้เปื่อยเร็ว
2. ปุ๋ย
ก. ปุ๋ยคอก คือ มูลสัตว์ ได้แก่ มูลวัว มูลควาย มูลเป็ด มูลไก่ มูลค้างคาว อะไรก็ได้
ข. ปัสสาวะคน หรือสัตว์
ค. กากเมล็ดนุ่น กากถั่ว ซากต้นถั่วชนิดต่างๆ (พืชตระกูลถั่ว)
3. ดินร่วน พอสมควร ถ้าเป็นหน้าดินยิ่งดี
การกองปุ๋ย
1. กองในหลุม ต้องขุดหลุมขนาดกว้างราว 1 เมตร ยาว 1 เมตร ลึก 1 เมตร ระวังดินพังทลาย
ลงในหลุม ถ้ามีการระบายน�้าได้ยิ่งดี
2. กองในคอก ปรับดินบริเวณที่จะกองปุ๋ยหมักให้แน่น ใช้ไม้ไผ่หรือไม้อื่นที่หาได้ กั้นเป็นคอก
กว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 1 เมตร แบ่งคอกเป็น 2 ส่วน ครึ่งหนึ่งไว้ใส่ปุ๋ยหมัก อีกครึ่งหนึ่งไว้กลับกองปุ๋ย
ท�าหลังคาใบจากหรือใบมะพร้าวคลุมหลังคา ถ้ามีถุงพลาสติกคลุมกันฝนชะปุ๋ยก็ดี
3. น�าซากพืชที่เตรียมไว้กองเกลี่ยในคอก (หรือในหลุม) ให้เป็นชั้น เหยียบตามขอบให้แน่นขนาด
คนเหยียบแล้วไม่ยุบอีก ชั้นหนึ่งๆ สูงราว 30 เซนติเมตร รดน�้าให้ชุ่ม แล้วเอาปุ๋ยคอกโรยทับให้ทั่วกัน
สูง 5 เซนติเมตร โรยปุ๋ยเคมี (สูตร 16-20-0 หรือ 14-14-14 แอมโมเนียมซัลเฟต หรือยูเรีย)
บางๆ ให้ทั่ว แล้วทับด้วยดินละเอียดหนาประมาณ 2.5 เซนติเมตร สลับด้วยซากพืช แล้วรดน�้าท�าเป็นชั้นๆ อย่าง
นี้จนปุ๋ยเต็มคอก (น�้าที่รดจะผสมด้วยปัสสาวะด้วยก็ได้)
ข้อควรระวัง
1. อย่าให้มีน�้าขัง การรดน�้ามากไปจะท�าให้ระบายอากาศไม่ดี
2. ปุ๋ยกองใหญ่ไปจะเกิดความร้อนสูง ปุ๋ยจะเสีย ถ้าในกองปุ๋ยมีความร้อนสูงไปให้เติมน�้าลงไปบ้าง
3. ปุ๋ยกองเล็กไป จะสลายตัวช้า
4. อย่าใส่ปุ๋ยเคมีพร้อมกับปูนขาว เพราะจะท�าให้ธาตุไนโตรเจนสลายตัว