Page 34 - การจัดการทรัพยากรดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
P. 34

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                                                                     ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ  21



                              2) ประโยชน์ 4 ประการ คือ

                                 (1)   ในสภาพปัจจุบันป่าไม้ลดลงเป็นจ�านวนมาก ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของ
                  ประชาชนได้อย่างทั่วถึงและเพียงพอ ดังนั้น เมื่อมีการปลูกไม้ที่มีความเหมาะสมและมีคุณสมบัติที่ดีเพื่อการใช้สอย
                  และสามารถน�ามาใช้เสริมสร้างอาชีพได้ โดยมีการวางแผนอย่างมีส่วนร่วมและดูแลรักษาก็จะท�าให้ชุมชนมีไม้ไว้

                  ใช้สอยอย่างไม่ขาดแคลน และจะไม่สร้างผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่และหากมีการปลูกในปริมาณที่
                  มากพอ ชุมชนก็สามารถน�ามาเสริมสร้างอาชีพเสริมได้ท�าให้ชุมชนมีรายได้เสริมและมีความอยู่ดีกินดีขึ้น

                                 (2) ไม้ฟืนเป็นวัสดุเชื้อเพลิงพื้นฐานของชุมชน หากชุมชนไม่มีไม้ฟืนไว้สนับสนุนกิจกรรม

                  ครัวเรือน ชุมชนจะต้องเดือดร้อนและสิ้นเปลืองเงินทอง เพื่อการจัดหาแก๊สหุงต้ม หรือจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อ
                  การจัดหาวัสดุเชื้อเพลิงประเภทอื่นๆ

                                 (3) พืชอาหารและสมุนไพรรวมทั้งสัตว์และแมลง ที่ชุมชนสามารถเก็บหาได้จากธรรมชาติจะ
                  เป็นอาหารที่มีคุณค่าปลอดสารพิษ อันเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย

                  อีกทั้งถ้ามีปริมาณเกินกว่าที่ต้องการแล้วยังสามารถใช้เป็นสินค้าเสริมสร้างรายได้อีกทางหนึ่งด้วย

                                 (4) เมื่อมีการปลูกไม้เจริญเติบโตเป็นพื้นที่ขยายมากเพิ่มขึ้น และมีการปลูกเสริมคุณค่าป่า
                  ด้วยพันธุ์ต่างๆ ท�าให้เกิดความหลากหลายและเป็นการอนุรักษ์ดินและน�้า รวมทั้งก่อให้เกิดการอนุรักษ์พื้นที่

                  ต้นน�้าล�าธาร

                           7.2.2   เลือกชนิดพืชปลูกและมีการจัดการที่เหมาะสม หากเป็นพืชไร่ควรเลือกพืชที่มีระบบรากตื้น
                  พืชทนแล้ง หรือปลูกพืชแบบผสมผสาน ส�าหรับการปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ควรมีการจัดการเฉพาะหลุม ขุดหลุม

                  ปลูกให้กว้างประมาณ 75x75x75 เซนติเมตร น�าหน้าดินหรือดินจากที่อื่นผสมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองก้นหลุม

                           7.2.3   มีการเขตกรรมที่เหมาะสม ไถพรวนดินให้น้อยที่สุดเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน

                           7.2.4   เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปลูกพืชตระกูลถั่ว
                  แล้วไถกลบเพื่อเพิ่มความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารและน�้าให้แก่ดิน และใช้ปุ๋ยเคมีร่วมด้วยตามความเหมาะสม

                  ของชนิดพืชที่ปลูก

                           7.2.5  การจัดการน�้าที่เหมาะสม โดยการจัดหาแหล่งน�้าให้พอเพียงกับการเพาะปลูก และมีการให้
                  น�้าอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ให้น�้าแบบหยด และใช้วัสดุคลุมดินเพื่อป้องกันการระเหยของน�้าและเก็บรักษา
                  ความชื้นในดิน

                           7.2.6  พื้นที่ที่มีความลาดชันควรมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน�้า ไถพรวนและปลูกพืชตามแนว

                  ระดับขวางความลาดเทของพื้นที่ ปลูกพืชคลุมดิน เช่น หญ้ารูซี่ กระถิน ถั่วฮามาต้า ถั่วมะแฮะ แคฝรั่ง โดยปลูก
                  สลับกับแถวพืชหลักที่ปลูกไว้ เพื่อลดการชะล้างพังทลายของดิน หรือปลูกหญ้าแฝก เป็นต้น

                        7.3  การแก้ไขดินที่เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายสูงเพื่อน�ามาใช้ท�าการเกษตร

                            การชะล้างพังทลายของดิน คือ การที่ดินถูกพัดพาโดยธรรมชาติ หรือการกระท�าของมนุษย์จนท�าให้

                  ผิวหน้าดินหายไปหรือเกิดเป็นร่องขนาดต่างๆ ปัจจัยที่ท�าให้เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดินที่ส�าคัญได้แก่
                  ความลาดชัน ความยาวของความลาดชัน ปริมาณน�้าฝน ลักษณะของเนื้อดิน ชนิดหรือประเภทของสิ่งปกคลุมดิน
                  ตลอดจนการมีหรือไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน�้า เมื่อมีการชะล้างพังทลายของดิน จะส่งผลกระทบต่อดิน
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39