Page 35 - การจัดการทรัพยากรดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
P. 35
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
22 ก า ร จั ด ก า ร ท รั พ ย า ก ร ดิน
ที่ใช้ท�าการเกษตรโดยจะเห็นได้จากผลผลิตของพืชลดลง โครงสร้างทางกายภาพของดินเสียไป ความอุดมสมบูรณ์
ของดินลดลงเนื่องจากธาตุอาหารถูกพัดพาไป และชั้นดินจะตื้นขึ้นเนื่องจากหน้าดินถูกพัดพาไป ดังนั้นหากต้องการ
น�าดินมาใช้ในการเกษตรจะต้องมีแนวทางป้องกันไม่ให้ดินถูกชะล้างพังทลาย โดยในปัจจุบันกรมพัฒนาที่ดิน
ได้ส่งเสริมให้มีการน�าระบบอนุรักษ์ดินและน�้ามาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
การอนุรักษ์ดินและน�้า หมายถึง การระวัง รักษา และป้องกันดินไม่ให้ถูกชะล้างและพัดพาไป ตลอด
จนการปรับปรุงบ�ารุงดินให้คงความอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งการรักษาน�้าในดินและบนผิวดินให้คงอยู่เพื่อรักษา
สมดุลธรรมชาติให้เหมาะสมในการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน โดยระบบอนุรักษ์ดินและน�้า
แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
7.3.1 มาตรการทางวิธีกล เป็นวิธีการควบคุมน�้าไหลบ่าหน้าดิน โดยการสร้างสิ่งกีดขวางความ
ลาดเทของพื้นที่และทิศทางการไหลของน�้า ช่วยลดและชะลอความเร็วของกระแสน�้า เป็นวิธีการอนุรักษ์ดิน
และน�้าที่ค่อนข้างถาวรและมีประสิทธิภาพสูง แต่ลงทุนสูงและต้องใช้ความช�านาญในการก่อสร้าง ส่วนใหญ่รัฐบาล
จะเป็นผู้ด�าเนินการเอง มาตรการวิธีกลมีหลายวิธี เช่น การไถพรวนและปลูกพืชตามแนวระดับ การยกร่องปิดหัวท้าย
การยกร่องตามแนวระดับ การท�าร่องน�้าไปตามแนวระดับ การยกแปลงและขุดร่องตามแนวระดับ ขั้นบันไดดิน
คันดิน คันชะลอความเร็วน�้าหรือฝายน�้าล้น คูรับน�้าขอบเขา ทางล�าเลียงในไร่นา/ถนนเชื่อมโยงในไร่นา ทางระบายน�้า
บ่อดักตะกอน เป็นต้น
7.3.2 มาตรการทางวิธีพืช เป็นวิธีการเพิ่มความหนาแน่นของพืช การคลุมดิน ป้องกันเม็ดฝน
กระทบที่ผิวดิน ตลอดจนปรับปรุงบ�ารุงดิน มีการลงทุนต�่าซึ่งเกษตรกรสามารถปฏิบัติได้เอง โดยใช้พืชตระกูลถั่ว
บ�ารุงดิน หญ้าเลี้ยงสัตว์หรือหญ้าธรรมชาติปลูกเป็นแถบขวางความลาดเทของพื้นที่ หรือปลูกพืชคลุมดิน หรือ
การใช้ระบบปลูกพืชแบบผสมผสาน เพื่อลดความแรงของเม็ดฝน ดักตะกอนดิน และชะลอความเร็วของน�้า
มีหลายวิธีการ เช่น การปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืชปุ๋ยสด การปลูกพืชสลับเป็นแถบ การปลูกพืชหมุนเวียน
การปลูกพืชแซม คันซากพืช ไม้บังลม การปลูกหญ้าแฝก เป็นต้น