Page 31 - การจัดการทรัพยากรดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
P. 31
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
18 ก า ร จั ด ก า ร ท รั พ ย า ก ร ดิน
7.1.4 การใช้พืชปุ๋ยสดในระบบการปลูกพืช มี 3 วิธี คือ
1) การใช้พืชปุ๋ยสดในระบบปลูกพืชหมุนเวียน (crop rotation) เป็นการปลูกพืชปุ๋ยสดที่เหมาะสม
บางชนิดหมุนเวียนให้พอเหมาะกับระยะเวลาในการปลูกพืชหลัก หรือพืชเศรษฐกิจ แบ่งออกเป็น
(1) ปลูกพืชหลัก 1 ชนิด หมุนเวียนสลับกับปลูกพืชปุ๋ยสด 1 ชนิด ภายในเวลา 1 ปี กล่าวคือ
การปลูกพืชปุ๋ยสดในต้นฤดูฝนแล้วไถกลบ หลังจากนั้นปลูกพืชหลักตามพืชปุ๋ยสด
(2) ปลูกพืชหลักต้นฤดูฝนแล้วปลูกพืชปุ๋ยสดในปลายฤดูฝน เช่น ปลูกข้าวเป็นพืชหลัก
ในฤดูนาปี และปลูกถั่วพร้าหรือถั่วพุ่มโดยหยอดเมล็ดในตอซังข้าวเป็นปุ๋ยพืชสด เป็นต้น
(3) ปลูกพืชหลัก 1 ชนิด สลับหมุนเวียนกับปลูกพืชปุ๋ยสด 1 ชนิด ในระยะเวลา 2 ปี กล่าวคือ
การปลูกพืชปุ๋ยสดหรืออาจเป็นพืชปุ๋ยสดคลุมดินที่มีอายุยาวใน 1 ปี แล้วจึงปลูกพืชหลักในปีที่สองหมุนเวียนกันไป
ซึ่งเป็นระบบที่ใช้กับพื้นที่ที่มีความลาดเทหรือพื้นที่เกษตรที่สูงที่มีการท�าไร่เลื่อนลอย เช่น การปลูกถั่วแปบเป็น
ปุ๋ยพืชสดสลับกับถั่วแดงหลวง เป็นต้น
2) การใช้พืชปุ๋ยสดในระบบปลูกพืชแซม (inter cropping) เป็นการปลูกพืชปุ๋ยสดบางชนิด
ที่เหมาะสมแซมในแถวพืชหลัก ซึ่งอาจเป็นการปลูกพืชหลักแล้วปลูกพืชปุ๋ยสดแซมในแถวไปพร้อมๆ กันในเวลา
เดียวกัน หรือปลูกพืชหลักแล้วระยะเวลาหนึ่งจึงปลูกพืชปุ๋ยสดแซมเป็นการเหลื่อมเวลากันใน 1 ปี แบ่งเป็น
(1) ปลูกพืชหลัก 1 ชนิด แล้วแซมด้วยพืชปุ๋ยสด 1 ชนิด ใน 1 ปี วิธีนี้เป็นวิธีการท�าการเกษตร
ในที่ดอนในเขตเกษตรน�้าฝน เช่น ปลูกถั่วพร้าหรือถั่วพุ่ม แซมในแถวข้าวโพด แบบแถวต่อแถวหรือ
พืชหลักสองแถวคู่ แล้วจึงแซมด้วยพืชปุ๋ยสด เมื่อได้อายุพอเหมาะท�าการไถกลบหรือสับกลบพืชปุ๋ยสด พร้อมกับ
การสับกลบตอซังพืชหลัก
(2) ปลูกพืชหลัก 2 ชนิด แล้วแซมด้วยพืชปุ๋ยสด 1 ชนิด ในเวลา 1 ปี วิธีนี้ใช้ในระบบการ
ปลูกพืชในเขตเกษตรชลประทานที่เป็นนาข้าว โดยการปลูกข้าวเป็นพืชหลักในฤดูฝน หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว
จึงท�าการปลูกพืชหลักอย่างอื่นโดยใช้น�้าชลประทาน เช่น ปลูกข้าวโพดเป็นพืชหลักแล้วแซมด้วยโสน ปอเทือง
หรือถั่วพุ่ม ฯลฯ เป็นพืชปุ๋ยสดในแถวข้าวโพด
3) การใช้พืชปุ๋ยสดในระบบปลูกพืชแบบแถบพืช (strip cropping) เป็นวิธีการใช้ปุ๋ยพืชสดปลูก
เป็นแนวชนวนคล้ายๆ ก�าแพงเพื่อป้องกันและลดการสูญเสียหน้าดินจากการชะล้างพังทลายของดิน โดยแนวชนวน
ของพืชปุ๋ยสดนี้จะท�าหน้าที่เป็นแนวดักตะกอนอันเกิดจากการชะล้างพังทลายจากฝน และลดความรุนแรงจาก
การไหลบ่าของน�้าฝนได้ โดยแถบพืชปุ๋ยสดนี้อาจจะกว้างประมาณ 2 เมตร ยาวตามแนวความลาดเท ต่อจาก
แถบพืชปุ๋ยสดจึงเป็นแปลงปลูกพืชเศรษฐกิจอาจกว้างประมาณ 3 เมตร ขึ้นอยู่กับความลาดเท ต่อจากนั้นก็เป็น
แถบพืชปุ๋ยสดอีก ท�าเช่นนี้สลับกันไปจนเต็มพื้นที่ พืชที่นิยมใช้ปลูกเป็นแนวแถบพืชปุ๋ยสด ได้แก่ กระถิน ถั่วมะแฮะ
เป็นต้น เพราะเป็นพืชอายุข้ามปี ปลูกทีเดียวไม่ได้ต้องปลูกใหม่ในปีถัดไป แถบพืชปุ๋ยสดนี้นอกจากจะช่วยป้องกัน
และลดการสูญเสียหน้าดินจากการชะล้างพังทลายแล้ว ยังมีประโยชน์ในการเป็นปุ๋ยพืชสด กล่าวคือเกษตรกร
สามารถตัดเอากิ่งก้านยอดอ่อนของพืชเหล่านั้นมาใส่ในแปลงพืชเศรษฐกิจแล้วท�าการไถกลบเป็น
ปุ๋ยพืชสดต่อไป ควรท�าการตัดกิ่งก้านของพืชปุ๋ยสดดังกล่าวและท�าการไถกลบก่อนการปลูกพืชเศรษฐกิจ
ทุกครั้ง เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงบ�ารุงดินเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจ