Page 37 - การจัดการทรัพยากรดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
P. 37

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


           24     ก า ร จั ด ก า ร ท รั พ ย า ก ร ดิน




                       2)  กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกดอน มีใบยาว 35-80 เซนติเมตร กว้าง 0.4-0.8 เซนติเมตร ใบสีเขียว
            หลังใบพับเป็นสันสามเหลี่ยม เนื้อใบหยาบ มีไขเคลือบน้อยท�าให้ดูกร้านไม่เหลือบมัน ท้องใบสีเดียวกับด้านหลังใบ

            แต่มีสีซีดกว่า แผ่นใบเมื่อส่องกับแดดไม่เห็นรอยกั้นในเนื้อใบ เส้นกลางใบสังเกตได้ชัดเจน มีลักษณะแข็ง
            เป็นแกนนูนทางด้านหลัง ใบหญ้าแฝกดอนและแฝกลุ่มที่มีอายุเท่ากัน หญ้าแฝกดอนจะมีรากที่สั้นกว่า โดยทั่วไป
            หญ้าแฝกที่มีอายุประมาณ 1 ปี จะมีรากลึกประมาณ 80-100 เซนติเมตร ช่อดอกของหญ้าแฝกดอนมีได้หลายสี

            ซึ่งเป็นลักษณะประจ�าถิ่น ส�าหรับพันธุ์หญ้าแฝกดอนที่กรมพัฒนาที่ดินแนะน�า ได้แก่ พันธุ์นครสวรรค์ ก�าแพงเพชร 1
            ร้อยเอ็ด เลย ราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์



























                       3) หญ้าแฝกมีคุณสมบัติที่ดีในการใช้ในระบบอนุรักษ์ดินและน�้า เนื่องจากลักษณะดังต่อไปนี้
                          (1) หญ้าแฝกมีการแตกหน่อรวมเป็นกอและเบียดกันแน่น กอมีความแข็งแรง ตั้งตรงและไม่แผ่

            ขยายด้านข้าง

                          (2)  หญ้าแฝกเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวแต่อายุยืนได้หลายปี เพราะมีการแตกหน่อใหม่และไม่ต้องมี
            การดูแลมาก

                          (3)  หญ้าแฝกมีข้อที่ล�าต้นถี่เกิดจากการย่างปล้อง สามารถขยายพันธุ์โดยการใช้หน่อได้ตลอดปี

                          (4)  หญ้าแฝกส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ท�าให้สามารถควบคุมการแพร่ขยายได้
                          (5)  หญ้าแฝกมีใบยาว เมื่อตัดสามารถแตกใหม่ได้ง่าย ใบคม แข็งแรง และทนทานต่อการย่อยสลาย

                          (6)  หญ้าแฝกมีระบบรากยาว ประสานกันอย่างหนาแน่นช่วยยึดดิน รากมีลักษณะอวบสามารถ

            อุ้มน�้าได้ดี
                          (7)  บริเวณรากของหญ้าแฝกเป็นที่อาศัยของเชื้อจุลินทรีย์ในดินที่มีประโยชน์หลายชนิด

                          (8)  หญ้าแฝกสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี มีความทนทานต่อโรคพืชทั่วไป

                          (9)  หญ้าแฝกมีส่วนที่เจริญอยู่ต�่ากว่าผิวดิน ช่วยให้สามารถอยู่รอดและทนต่อสภาพต่างๆ
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42