Page 26 - การจัดการทรัพยากรดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
P. 26

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                                                                     ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ  13



                  7. แนวทางแก้ไขสภาพทรัพยากรดินที่เป็นปัญหา

                        7.1  การแก้ไขดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต�่าเพื่อน�ามาใช้ท�าการเกษตร
                            ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต�่า คือ ดินที่มีธาตุอาหารที่จ�าเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชไม่เพียงพอ

                  ต่อความต้องการของพืช ท�าให้พืชมีการเจริญเติบโตไม่ดี และมีศักยภาพในการผลิตลดลง โดยสามารถรักษา
                  และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ดินได้ดังนี้

                           7.1.1  การไถกลบตอซัง คือ การไถกลบวัสดุเศษซากพืชที่มีอยู่ในไร่นาหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต

                  โดยท�าการไถกลบวัสดุเศษพืชในระหว่างการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกแล้วทิ้งไว้ระยะหนึ่งเพื่อให้เกิดกระบวนการย่อย
                  สลายในดินก่อนที่จะท�าการปลูกพืชต่อไป โดยประโยชน์ของการไถกลบตอซังจะช่วยปรับปรุงโครงสร้าง

                  ของดิน ท�าให้ดินมีความโปร่งร่วนซุย เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ และหมุนเวียนธาตุอาหารของพืชคืนสู่ดิน
                  เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน ช่วยลดระดับความเค็มของดิน และลดมลภาวะเมื่อเปรียบเทียบกับ

                  พื้นที่ที่เผาตอซัง























                            7.1.2  การใส่ปุ๋ยหมักเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยที่ท�าจากซากวัสดุ
                  อินทรีย์มีธาตุอาหารที่จ�าเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ผลิตจากวัสดุอินทรีย์ ของเสียจากโรงงาน (บางประเภท)

                  มูลวัว มูลไก่ มูลค้างคาว ซากต้นไม้ ใบใม้ กรดอะมิโน โดโลไมต์ และแร่ธาตุต่างๆ น�ามาบด เติมจุลินทรีย์ บ่มหมัก
                  กลับกอง ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย

                           สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานวิธีการท�าปุ๋ยหมักเป็นองค์ความรู้

                  ให้กับประชาชนชาวไทย ดังพระราชด�าริ

                          “...ต้นไม้ทุกชนิดต้องการอาหาร เพื่อการเจริญเติบโต พูดง่ายๆ เราต้องใส่ปุ๋ย ไร่นา สวนของเราพืชผล
                  จึงจะงามดี เดี๋ยวนี้ปุ๋ย ที่ซื้อตามท้องตลาดแพงเหลือเกิน เรามาท�าปุ๋ยหมักใช้เองดีกว่า...”


                            โดยกรมพัฒนาที่ดินขอพระราชานุญาตน�าสูตรปุ๋ยดังกล่าว ไปขยายผลเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่
                  เกษตรกร และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เกษตรกรน�าไปปรับใช้ในการท�าการเกษตรแบบพึ่งพาตนเองในวง
                  กว้าง และเป็นการลดการใช้สารเคมี โดยสูตรปุ๋ยพระราชทานมีส่วนประกอบและวิธีท�าดังนี้
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31