Page 20 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังข้าวร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตในพื้นที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          11


                  group)  ซึ่งส่วนใหญ่ มีเนื้อดินเป็นทรายและระดับความอุดมสมบูรณ์ต่ ามาก นอกจากนี้ในพื้นที่ส่วนใหญ่
                  เกษตรกรได้ท าเกษตรกรรมติดต่อมาเป็นเวลานาน
                            แนวทางในการแก้ไข จึงควรมีการเพิ่มธาตุอาหารพืชให้แก่ดิน โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีใน

                  อัตราส่วนที่พอเหมาะแก่พืชแต่ละชนิดในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม เช่น ข้าวควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนหลังหว่าน
                  เพื่อให้ต้นอ่อนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วหรือใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสช่วงข้าวตั้งท้อง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า มีเนื้อที่
                  ประมาณ 9,544,750 ไร่ หรือร้อยละ 96.99 ของเนื้อที่ทั้งจังหวัด ยกเว้น กลุ่มชุดดินที่ 1 4 7 7hi 33B และ
                  38B

                            ดินทราย
                           ดินที่มีเนื้อดินเป็นดินทราย หรือเป็นดินทรายปนดินร่วนที่มีความหนามากกว่า  50  เซนติเมตร จากผิว
                  ดินท าให้ดินอุ้มน้ าได้น้อย  ดินมีโอกาสขาดแคลนน้ าได้ง่าย การดูดซับธาตุอาหารต่ า การชะล้างสูญเสียหน้าดิน

                  เกิดได้ง่าย  และเกิดร่องลึกในทางน้ าผ่าน
                         แนวทางในการแก้ไข จึงควรมีการปลูกพืชหมุนเวียนตลอดปีเพื่อรักษาหน้าดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งควร
                  ปลูกพืชปุ๋ยสด   (ถั่วพร้า อัตรา 10-12 กิโลกรัม/ไร่ หรือ ถั่วพุ่ม อัตรา 8-10 กิโลกรัม/ไร่ หรือปอเทือง 6-8
                  กิโลกรัม/ไร่)   แล้วไถกลบระยะออกดอก นอกจากท าให้คุณภาพของดินด้านกายภาพดีขึ้นแล้ว ยังช่วยเพิ่ม
                  ปริมาณอินทรียวัตถุอีกด้วย  หรือการเลือกชนิดของพืชที่จะปลูก โดยอาจจะท าเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หรือปลูก

                  ไม้ใช้สอยประเภทที่โตเร็วและทนแล้งได้ดี  ดินทราย มีเนื้อที่ประมาณ 1,149,603 ไร่ หรือร้อยละ
                  11.682  ของเนื้อที่ทั้งจังหวัด ได้แก่  กลุ่มชุดดินที่  24  41B  41C  44  44B  และ 44C
                            ดินตื้น

                            ดินที่มีชิ้นส่วนขนาดโตมากกว่า 2 มิลลิเมตร ปริมาณมากกว่าร้อยละ  35  โดยปริมาตร และอาจพบ
                  ชั้นหินพื้นภายในความลึก 50 เซนติเมตร จากผิวดิน ท าให้ดินมีชิ้นส่วนที่ละเอียดหรือเนื้อดินละเอียดน้อย จึงท า
                  ให้ความสามารถในการดูดซับน้ าและธาตุอาหารต่ า เกิดการสูญเสียธาตุอาหารพืชที่เป็นประโยชน์ได้ง่ายก่อนที่
                  พืชจะน าไปใช้ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตและการชอนไชของรากพืชลงไปหาธาตุอาหารและน้ า การค้ า

                  ยันและการทรงตัวของต้นพืชไม่ดีและล้มง่าย พื้นที่ที่เป็นดินตื้นมากหรือมีก้อนกรวด เศษหินหรือลูกรังอยู่บนผิว
                  ดินมาก ๆ จะเป็นอุปสรรคต่อการไถพรวน รวมทั้งความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ าและขาดแคลนน้ าได้ง่าย
                         แนวทางในการแก้ไข บริเวณที่มีหน้าดินอยู่บ้างและไม่มีเศษหิน ก้อนหิน หรือลูกรังอยู่บนผิวดิน
                  มาก ควรใช้ปลูกพืชรากสั้น เช่น  พืชไร่ หรือพืชผัก หรือขุดหลุม กว้าง x ยาว x ลึกเท่ากับ 75x75x75

                  เซนติเมตร แล้วน าดินอื่นที่เหมาะสมคลุกเคล้ากับปุ๋ยหมัก  หรือปุ๋ยคอก อัตรา 15-25 กิโลกรัมต่อหลุมมาใส่เพื่อ
                  ปลูกไม้ผล บางแห่งที่ตื้นมากหรือมีเศษหินลอยหน้ามากไม่ควรใช้พื้นที่นั้น จึงเหมาะส าหรับเป็นป่าธรรมชาติ
                  เท่านั้น  ดินตื้น มีเนื้อที่ประมาณ 2,014,006 ไร่  หรือร้อยละ 20.466 ของเนื้อที่ทั้งจังหวัด ได้แก่กลุ่มชุดดินที่
                  25hi  5hiB  46B  48B  48C  48D  48E  49  49B และ RL

                         ดินเค็ม
                         ดินที่มีปริมาณเกลือในดิน ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อพืช การใช้พื้นที่ดินเค็มเพื่อการเกษตรมีหลัก
                  ส าคัญอยู่ว่า จะต้องป้องกันไม่ให้มีปริมาณของเกลือในบริเวณรากพืชมากจนเป็นอันตรายต่อพืช การใช้

                  ประโยชน์พื้นที่ดินเค็มส่วนใหญ่จะใช้ประโยชน์ในการท านา ผลผลิตที่ได้ต่ าและข้าวมักจะเสียหายอยู่เสมอ
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25