Page 13 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังข้าวร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตในพื้นที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            4


                  ประมาณ  630 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 15,744.850  ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ 9,840,531 ไร่ คิด
                  เป็นร้อยละ 9.16 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
                             ทิศเหนือ   ติดต่อกับ     จังหวัดอ านาจเจริญ และจังหวัดยโสธร

                         ทิศใต้         ติดต่อกับ     ประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย และจังหวัดศรีสะเกษ
                         ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ       สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
                         ทิศตะวันตก     ติดต่อกับ     จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดยโสธร
                         แนวพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศ

                  กัมพูชาประชาธิปไตย รวมความยาวประมาณ 428 กิโลเมตร (ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
                  361 กิโลเมตร (จากอ าเภอเขมราฐ-อ าเภอน้ ายืน) ติดต่อกับแขวง สะหวันนะเขต แขวงสาละวัน และแขวงจ าปา
                  สัก และติดต่อกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย 67 กิโลเมตร (อ าเภอน้ ายืนติดต่อกับจังหวัดเขาพระวิหาร)

                         ลักษณะภูมิประเทศ
                         จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่าแอ่งโคราช (Korat  basin)  โดยสูงจากระดับน้ าทะเล
                  เฉลี่ย ประมาณ 68 เมตร (227 ฟุต) ลักษณะโดยทั่วไปเป็นที่สูงต่ า เป็นที่ราบสูง  ลาดเอียงไปทางตะวันออก  มี
                  แม่น้ าโขงเป็นแนวเขตกั้นจังหวัดอุบลราชธานีกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  มีแม่น้ าชีไหลมา
                  บรรจบกับแม่น้ ามูลซึ่งไหลผ่านกลางจังหวัด จากทิศตะวันตกมายังทิศตะวันออกแล้วไหลลงสู่แม่น้ าโขง ที่อ าเภอ

                  โขงเจียม และมีล าน้ าใหญ่ ๆ อีกหลายสาย ได้แก่ ล าเซบก  ล าโดมใหญ่  ล าโดมน้อย และมีภูเขาสลับซับซ้อน
                  หลายแห่ง ทางบริเวณชายแดนตอนใต้ที่ส าคัญคือ เทือกเขาบรรทัดและเทือกเขาพนมดงรักซึ่งกั้นอาณาเขต
                  ระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและกัมพูชา  ลักษณะภูมิสัณฐานของ

                  จังหวัดอุบลราชธานีแบ่งออกโดยสังเขปดังนี้
                         1.  บริเวณที่เป็นสันดินริมน้ า (River  levee)  เกิดจากตะกอนล าน้ าที่พัดพามาทับถม สภาพพื้นที่เป็น
                  เนินสันดินริมฝั่งแม่น้ าโขง และบางบริเวณสันดินริมฝั่งล าเซบาย
                         2.บริเวณที่เป็นแบบลานตะพักล าน้ า (Terrace) ที่เกิดจากการกระท าของขบวนการของน้ านานมาแล้ว

                  ประกอบด้วยบริเวณที่เป็นลานตะพักล าน้ าระดับต่ า ระดับกลางและระดับสูง ลักษณะพื้นที่มีทั้งที่เป็นที่ราบ
                  แบบลูกคลื่นลอนลาดจนถึงลูกคลื่นลอนชัน  จะอยู่ถัดจากบริเวณที่ราบลุ่มน้ าท่วมถึงขึ้นมา พื้นที่เหล่านี้จะพบ
                  ในบริเวณทั่วไปของจังหวัด  กล่าวคือทางตอนเหนือ  ทางตะวันออกและทางใต้บางแห่งใช้ส าหรับท านาและ
                  บางแห่งใช้ส าหรับปลูกพืชไร่

                         3. บริเวณที่เป็นแอ่ง (Depression) หรือที่ราบต่ าหลังแม่น้ า (Back swamp) เกิดจากการกระท าของ
                  ขบวนการของน้ า พบบางแห่งในบริเวณริมแม่น้ าโขง แม่น้ าชี ล าเซบายและล าโดมใหญ่ จะมีน้ าแช่ขังนานในฤดู
                  ฝน
                         4. บริเวณที่เป็นเนินตะกอนรูปพัด (Coalescing fans) สภาพพื้นที่แบบนี้มีลักษณะเด่น คือ รูปร่างจะ

                  เป็นรูปพัด เกิดจากหินในบริเวณเหล่านั้น ถูกท าให้แตกหักสะสมอยู่กับพวกที่มีอนุภาคละเอียดกว่า เมื่อฝนตก
                  ลงมาในปริมาณมาก  ก าลังของน้ าจะมีมากจนสามารถพัดพาเอาตะกอนเหล่านั้นออกมานอกหุบเขาได้ เมื่อ
                  มาถึงนอกหุบเขาหรือเชิงเขา สภาพพื้นที่ก็จะเป็นที่ราบทางน้ าไหลกระจายออกไป ท าให้ก าลังของน้ าลดลงก็จะ

                  ตกตะกอนในบริเวณนั้น จะพบอยู่ทางตอนใต้และทางตะวันตกของจังหวัด
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18