Page 11 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังข้าวร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตในพื้นที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            2


                  ด าเนินงานได้ ร้อยละ 43.53 และมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 70   และในนาข้าวสามารถลดค่าใช้จ่ายในการ
                  ด าเนินการได้ร้อยละ 88 และมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 25


                                                      ความส าคัญของปัญหา

                         กรมพัฒนาที่ดินเริ่มด าเนินงานโครงการ  ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในปี พ.ศ.2550 มี
                  วัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์สาธิตการพัฒนาที่ดินในพื้นที่ โดยมุ่งแก้ไขปัญหาทรัพยากรดินในพื้นที่เป็นจุด

                  ศูนย์กลางขยายงานพัฒนาที่ดินสู่พื้นที่โดยรอบและเพื่อเป็นจุดเรียนรู้เกี่ยวกับงานพัฒนาที่ดิน ตลอดจนข้อมูลที่
                  เกี่ยวข้องของเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้อง ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินคือ ศูนย์สาธิตงานพัฒนาที่ดิน
                  ที่ตั้งในพื้นที่ของต าบลที่ได้คัดเลือก โดยคัดเลือกจากพื้นที่หมอดินอาสาประจ าต าบลที่มีศักยภาพในการ

                  ถ่ายทอดเทคโนโลยี และมีศักยภาพที่จะเป็นแปลงสาธิตด้านการพัฒนาที่ดิน  สามารถน าเอารูปแบบการพัฒนา
                  ที่ดินด้านต่าง ๆ มาไว้ในจุดเดียว เพื่อเป็นจุดเรียนรู้ให้เกษตรกรหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้น าไปปรับใช้ในพื้นที่ของ
                  ตนเอง ตามสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องตามหลักวิชาการ
                         ปัจจุบันพื้นที่การเกษตรกรรมของประเทศไทย  มีระดับปริมาณอินทรียวัตถุในดินค่อนข้างต่ ามาก
                  ประมาณ ร้อยละ 1  ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ถึง 191 ล้านไร่  หรือคิดเป็นร้อยละ 60 ของพื้นที่ทั้งหมด  ส่วนหนึ่งเกิด

                  จากการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
                         จากการส ารวจวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร  พบว่าในแต่ละปีมีปริมาณมากกว่า 29 ล้านตัน  จาก
                  ปริมาณวัสดุดังกล่าว  เมื่อค านวณเป็นปริมาณปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส  และโพแทสเซียม 2.8  0.7 และ 5.9

                  แสนตัน  คิดเป็นมูลค่า 1,930    2,741.4 และ 4,731.4 ล้านบาท ตามล าดับ  รวมเป็นมูลค่าของปุ๋ยทั้งสิ้น
                  9,402.8 ล้านบาท  ดังนั้นการน าส่วนของพืชออกไปจากพื้นที่การเกษตรแต่ละครั้ง จึงเท่ากับเป็นการสูญเสีย
                  อินทรียวัตถุ  และธาตุอาหารในดินเป็นจ านวนมาก  การไถกลบตอซังเป็นการปฏิบัติอีกวิธีหนึ่ง เพื่อเพิ่ม
                  อินทรียวัตถุให้กับดินโดยตรง  ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการพัฒนาระบบการเกษตร

                  แบบยั่งยืน  ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 65 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ได้
                  ผลผลิตข้าว 24 ล้านตัน มีฟางข้าวเฉลี่ยประมาณปีละ 25.45 ล้านตัน และมีปริมาณตอซังข้าวที่ตกค้างอยู่ในนา
                  ข้าว 16.9 ล้านตันต่อปี  ดังนั้น จึงนับได้ว่ามีปริมาณฟางข้าวและตอซังข้าวมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับตอซัง
                  พืชชนิดอื่น โดยมีปริมาณฟางข้าวและตอซังมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือจ านวน 13.7 และ 9.1

                  ล้านตันต่อปี ตามล าดับ รองลงมาคือภาคกลางและภาคตะวันออกมีจ านวนฟางข้าวและตอซัง 6.2 และ 4.1
                  ล้านตันต่อปี ตามล าดับ และในพื้นที่ปลูกข้าว 1 ไร่ มีปริมาณฟางข้าวและตอซัง โดยเฉลี่ยปีละ 650 กิโลกรัม
                  ตอซังข้าวหรือฟางข้าวเป็นวัสดุที่ย่อยสลายง่ายมีค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนเฉลี่ย 99:1 มีปริมาณธาตุ
                  อาหารหลักของพืชได้แก่ไนโตรเจน   ฟอสฟอรัส  และโพแทสเซียมเฉลี่ย  0.51  0.14  และ 1.55 เปอร์เซ็นต์

                  ตามล าดับ มีปริมาณธาตุอาหารรองของพืชได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และซัลเฟอร์เฉลี่ย 0.47  0.25 และ
                  0.17 เปอร์เซ็นต์  ตามล าดับ (ที่มา :  http://elibrary.ldd.go.th/library/Abstract/ord/abst/A190.htm
                  วันที่ 25 มิถุนายน 2558)
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16