Page 39 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 39
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
7-4
7.3 การจัดทําแผนที่พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจรายพืช
กําหนดชนิดพืชเศรษฐกิจที่จะต้องดําเนินการ
1) กรณีที่เป็นพืชเศรษฐกิจหลัก คือ หมายถึง พืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรเพาะปลูกอยู่ในระหว่าง
วันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 31 ตุลาคม ของปี โดยไม่คํานึงถึงว่าจะทําการเก็บเกี่ยวเมื่อใดก็ตาม หรือกรณีที่
เป็นไม้ยืนต้นอายุเกิน 1 ปี ยกเว้นพื้นที่นาข้าวในพื้นที่นํ้าท่วมซํ้าซาก บริเวณที่ลุ่มลํานํ้ายม จังหวัด
สุโขทัย จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิจิตร จังหวัดแพร่ และ จังหวัดพะเยา ซึ่งมีข้อมูลสามารถดึงข้อมูล
ได้จากแผนที่การใช้ที่ดินเชิงเลขรายจังหวัดโดยตรง
2) กรณีที่เป็นพืชเศรษฐกิจรอง คือ หมายถึง พืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรเพาะปลูกต่อจากพืช
เศรษฐกิจหลัก โดยไม่คํานึงถึงว่าจะทําการเก็บเกี่ยวเมื่อใดก็ตาม ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูล
ปฏิทินการปลูกพืชชนิดนั้นๆ เพื่อกําหนดระยะเวลาในการสํารวจภาคสนาม และช่วงเวลาการบันทึก
ข้อมูลของดาวเทียมที่จะต้องนํามาวิเคราะห์ข้อมูล เนื่องจากไม่สามารถดึงข้อมูลได้จากแผนที่การใช้
ที่ดินเชิงเลขรายจังหวัดโดยตรง
จัดเตรียมเอกสารและข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ จากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก ดังนี้
1) แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1: 50,000 จากกรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหม
2) ข้อมูลสภาพการใช้ที่ดินเชิงเลข ปีใหม่ล่าสุด มาตราส่วน 1:25,000
3) ปฏิทินการเพาะปลูกพืชแต่ละชนิดในแต่ละพื้นที่
4) ข้อมูลภาพดาวเทียม ได้แก่ ดาวเทียมไทยโชต SPOT-5TM หรือดาวเทียม LANDSAT5-TM
ระบบหลายช่วงคลื่น Multispectral mode ซึ่งควรจะมีอุปกรณ์รับคลื่นอินฟราเรดใกล้ (Near infrared)
และ/หรือ อินฟราเรดคลื่นสั้น (Short wave infrared) ในบริเวณที่มีการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจชนิด
นั้นๆ และในช่วงเวลาที่มีพืชเศรษฐกิจชนิดนั้นๆ มีการเจริญเติบโตมากที่สุด
5) แผนที่ขอบเขตการปกครองระดับตําบล จาก กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย /เขต
ชลประทาน จากกรมชลประทาน
วิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน นําข้อมูลภาพดาวเทียมที่ได้ทําการแก้ไขความคลาดเคลื่อนทาง
เรขาคณิตแล้ว มาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจําแนกประเภทการใช้ที่ดิน ด้วยสายตาโดยพิจารณาจาก
องค์ประกอบของข้อมูล คือ ความเข้มของสีและสี (Tone/color) ขนาด (Size) รูปร่าง (Shape) เนื้อภาพ
(Texture) ตําแหน่ง (Location) การเรียงตัวของข้อมูล (Pattern) ความสูงและเงา (Height and Shadow)
ความเกี่ยวพัน (Association) และการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล (Temporal change) จากนั้นจึงลง
ขอบเขตพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ เพื่อจัดทําแผนที่พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจเบื้องต้น สําหรับใช้ในการ
ตรวจสอบข้อมูลในพื้นที่