Page 28 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         17


                         2) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน

                             ฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารที่จ่าเป็นอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของพืช   หากดินมีฟอสฟอรัสไม่
                  เพียงพอกับความต้องการของพืชจะเกิดผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช  แหล่งที่ให้ฟอสฟอรัสที่เป็น
                  ประโยชน์ในดินมาจากการสลายตัวผุพังของแร่ในดิน การสลายตัวและการปลดปล่อยธาตุอาหารจาก
                  อินทรียวัตถุในดิน และปุ๋ยที่ใส่ให้กับดิน  ปริมาณฟอสฟอรัสในดินในสภาพธรรมชาติแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุ

                  ต้นก่าเนิดดิน  ดังนั้นปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินที่มีระดับต่่าไม่เพียงมาจากปริมาณจากแหล่งต้น
                  ก่าเนิดและเกิดจากที่ฟอสฟอรัสถูกตรึงไว้ในดินสูง  จากรายงานกรมพัฒนาที่ดิน (2558ข) พบว่า ดินใน
                  ประเทศไทยมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับต่่ากว่า 10.0 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ

                  59.58 ของจ่านวนข้อมูลทั้งหมด  โดยมีการกระจายทุกภาคของประเทศ  โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการ
                  กระจายสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 54.85 ของผลวิเคราะห์ดินที่มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่่า ดังตาราที่ 1.5 และ
                  แผนที่ที่ 1. 4   เมื่อพิจารณาภาพรวมของปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ พบว่า พื้นที่ภาค
                  ตะวันออกเฉียงเหนือดินมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่่ากว่า 10.0 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม มากที่สุด คือ
                  ร้อยละ 72.3  รองลงมาได้แก่ ภาคใต้  ภาคเหนือ  ภาคตะวันออก และภาคกลาง ดังนี้ ร้อยละ 69.36, 49.44,

                  48.16  และ 34.54  ตามล่าดับ  นอกจากนี้ดินที่มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์อยู่ระหว่าง 10  –  25
                  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พบกระจายอยู่ทั่วไปในทั่วทุกภาค โดยภาคกลางภาคตะวันออก มีการกระจายมากที่สุด
                  คือ ร้อยละ 31.47 และ 30.38 ตามล่าดับ  ส่วนดินปริมาณฟอสฟอรัสที่มีค่าสูงกว่า 25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

                  พบมากในดินภาคกลางร้อยละ 33.99  ซึ่งโดยมากเป็นพื้นที่ปลูกข้าว และมีการใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัสในปริมาณที่
                  สูงมาเป็นเวลานาน มีความเป็นไปได้ที่อาจเป็นผลตกค้างของการใช้ปุ๋ยที่ผ่านมา

                  ตารางที่ 1.5 การกระจายข้อมูลปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ที่อยู่ในระดับต่างๆ ในแต่ละภาคของ
                             ประเทศไทย


                                                       ระดับฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)
                                       จํานวน
                         ภาค                          ต่ํา (<10)      ปานกลาง (10-25)          สูง (>25)
                                       ข้อมูล
                                                 จํานวน  เปอร์เซ็นต์  จํานวน  เปอร์เซ็นต์  จํานวน  เปอร์เซ็นต์

                  กลาง                 12,271     4,238     34.54     3,862     31.47     4,171     33.99

                  ตะวันออก             4,713      2,270     48.16     1,432     30.38     1,011     21.45
                  ตะวันออกเฉียงเหนือ  33,899     24,554     72.43     5,971     17.61     3,374      9.95

                  เหนือ                15,661     7,743     49.44     3,497     22.33     4,421     28.23

                  ใต้                  8,590      5,958     69.36     1,682     19.58      950      11.06
                         รวม           75,134  44,763       59.58    16,444     21.89     13,927    18.54


                  ที่มา: กรมพัฒนาที่ดิน (2558ข)
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33