Page 9 - บทบาทของหญ้าแฝกในการบำบัดสารปนเปื้อนในน้ำและสิ่งแวดล้อม
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         4







                                                  ระยะเวลาและสถานที่ด้าเนินงาน

                            1. ระยะเวลาด าเนินงาน เดือนพฤษภาคม ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2558
                            2. สถานที่ด าเนินงาน สถานีพัฒนาที่ดินพิษณุโลก ส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 8

                                                     ขั นตอนและวิธีด้าเนินงาน

                            รวบรวม  และวิเคราะห์เอกสารทั้งในและต่างประเทศ  ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหญ้าแฝกในการ
                       บ าบัดน้ าเสียและสิ่งปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม

                                                         ผลการด้าเนินงาน


                            1. หญ้าแฝก
                               1.1  แหล่งที่มาของหญ้าแฝก
                               หญ้าแฝกเป็นพืชตระกูลหญ้า พบกระจายอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในอดีตมีการ
                       ใช้ประโยชน์ในการน าไปท าเป็นวัสดุมุงหลังคา มีการสันนิษฐานว่าแหล่งเดิมหรือศูนย์กลางของหญ้า

                       แฝกกระจายอยู่บริเวณตอนกลางและตอนใต้ของประเทศอินเดีย ต่อมาได้มีการน าไปปลูกในหลายเขต
                       ของโลก ในปัจจุบันปรากฏกระจายแพร่หลายอยู่ทั่วไป ประเทศไทยได้มีการน าหญ้าแฝกมาใช้
                       ประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ดินและน้ าอย่างจริงจังตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมี
                       พระราชด าริในการใช้ประโยชน์หญ้าแฝกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2534 โดยกรมพัฒนาที่ดิน และ

                       ส านักงานคณะกรรมการประสานงานโครงการในพระราชด าริ (กปร.) เป็นหน่วยงานหลักที่สนอง
                       พระราชด าริในเรื่องดังกล่าว โดยด าเนินการทั้งด้านการวิจัยและพัฒนาหญ้าแฝกสายพันธุ์ต่างๆ เพื่อใช้
                       ในการอนุรักษ์ดินและน้ า และการฟื้นฟูทรัพยากรดิน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2546)
                               1.2  สายพันธุ์หญ้าแฝก

                               กรมพัฒนาที่ดินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ท าการส ารวจและเก็บตัวอย่างหญ้าแฝก
                       ทั่วประเทศ มาท าการจัดหมวดหมู่จนสามารถจัดหญ้าแฝกออกเป็น 2  ชนิด ได้แก่ หญ้าแฝกลุ่ม และ
                       หญ้าแฝกดอน ซึ่งมีลักษณะประจ าในแต่ละชนิดดังนี้

                                   1.2.1 หญ้าแฝกลุ่ม
                                   หญ้าแฝกลุ่มเป็นพืชที่มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี
                       และค่อนข้างเร็ว หญ้าแฝกลุ่มที่น าเข้ามาจากต่างประเทศส่วนใหญ่ ได้แก่ พันธุ์ที่น ามาจากประเทศ
                       อินเดีย ศรีลังกา และอินโดนีเซีย เป็นหญ้าที่ได้รับคัดเลือกพันธุ์ และปลูกภายใต้การดูแลที่มีปัจจัยต่าง
                       จากสภาพในธรรมชาติ อาทิ มีการตัดแต่งอย่างสม่ าเสมอเพื่อเร่งราก เร่งการแตกกอ และเพื่อไม่ให้

                       เกิดช่อดอก ท าให้ไม่เกิดการผสมและไม่กลายพันธุ์โดยยังคงลักษณะเดิมต่างๆ ไว้อย่างสม่ าเสมอ (กรม
                       พัฒนาที่ดิน, 2548) หญ้าแฝกลุ่มที่พบในสภาพธรรมชาติจะขึ้นในพื้นที่ลุ่มมีความชื้นสูงหรือมีน้ าขัง
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14