Page 7 - บทบาทของหญ้าแฝกในการบำบัดสารปนเปื้อนในน้ำและสิ่งแวดล้อม
P. 7

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         2







                                                             บทน้า

                             การปลูกหญ้าแฝกส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นในเรื่องของการอนุรักษ์ดินและน้ า ลดการชะล้างพังทลาย
                       ของดิน การช่วยเก็บกักตะกอนดินในพื้นที่ลาดชัน แต่จากการวิจัยหลายด้านพบว่าหญ้าแฝกยังมี
                       ความสามารถในด้านการฟื้นฟูทรัพยากรดินด้วย โดยช่วยให้ดินมีศักยภาพในการให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
                       การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ดินเสื่อมโทรม หรือพื้นที่ดินมีปัญหา จึงมีส่วนช่วยฟื้นฟู และปรับปรุงดินให้มี

                       สภาพดีขึ้น เนื่องจากผลของอินทรียวัตถุที่เพิ่มขึ้น และกิจกรรมของจุลินทรีย์บริเวณรากหญ้าแฝก
                       รวมทั้งการมีความชื้นที่ยาวนานขึ้น สภาพดินจึงมีการพัฒนา และความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้นเป็นล าดับ
                       นอกจากนี้ยังพบว่าหญ้าแฝกสามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพดินที่มีโลหะหนัก ดังนั้นจึงมีการน า
                       หญ้าแฝกมาปลูกเพื่อใช้บ าบัดน้ าทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท เพื่อจุดประสงค์ในการรักษา

                       สภาพแวดล้อม
                           ปัจจุบันน้ ามีความส าคัญอย่างยิ่งในการด ารงชีวิต ทั้งในการอุปโภค บริโภคในครัวเรือน ใช้ใน
                       การอุตสาหกรรมและการเกษตร แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์กลับใช้น้ าอย่างไม่รู้คุณค่า มีการปล่อยน้ า

                       เสียลงสู่แม่น้ าล าคลอง ท าให้แหล่งน้ าธรรมชาติเกิดการเสื่อมโทรม ส่งกลิ่นเหม็น มีสารปนเปื้อน
                       คุณภาพน้ าไม่ดี ส่งผลให้สัตว์น้ าตายจ านวนมาก และไม่สามารถน าน้ ามาใช้ประโยชน์ได้ ส่งผลต่อ
                       คุณภาพชีวิต สุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ปัญหาน้ าเสียมาจากหลายแหล่ง คือ น้ าเสียจากชุมชน
                       น้ าเสียจากอุตสาหกรรม และน้ าเสียจากการท าเกษตรกรรม ซึ่งไม่ได้ผ่านกระบวนการบ าบัดและ
                       ปรับปรุงคุณภาพน้ าให้ได้ตามมาตรฐานก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ า โดยเฉพาะน้ าเสียจากชุมชน

                       (Domestic  wastewater) พบว่ามีแนวโน้มอัตราการเกิดน้ าเสียเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี โดยภาคกลาง
                       มีอัตราการเกิดน้ าเสียมากที่สุดในประเทศซึ่งคาดว่าในปี 2560  อัตราการเกิดน้ าเสียจะสูงสุด
                       ที่ประมาณ 482  ลิตรต่อคนต่อวัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2555  ที่มีปริมาตรสูงสุด 406  ลิตรต่อคนต่อวัน

                       และภาคใต้มีอัตราการเกิดน้ าเสียน้อยที่สุด คาดว่าในปี 2560 จะมีอัตราการเกิดน้ าเสียอยู่ที่ประมาณ
                       275  ลิตรต่อคนต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2555  ที่มีปริมาตร  249 ลิตรต่อคนต่อวัน (ส านักนโยบายและ
                       แผนสิ่งแวดล้อม, 2538) มีสาเหตุมาจากการปล่อยน้ าที่ใช้ในกระบวนการซักล้าง ซึ่งจะมีการปนเปื้อน
                       ของสารอนินทรีย์ฟอสฟอรัสจากผงซักฟอก เมื่อละลายน้ าแล้วจะอยู่ในรูปของ Orthophosphate
                               3-
                       ion (PO )   ซึ่งอยู่ในรูปที่พืชสามารถน าไปใช้ เพื่อการเจริญเติบโตทางชีววิทยา ธาตุฟอสฟอรัส เมื่อ
                              4
                       มีปริมาณที่มากเกินจะท าให้เกิดปรากฎการณ์ Eutrophication  จนท าให้เกิดสภาวะน้ าเน่าเสียที่มี
                       การปนเปื้อนธาตุอาหารในน้ าสูงตามมา และท าให้ปริมาณของสาหร่ายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (algae
                       bloom)  ซึ่งเป็นสาเหตุส าคัญท าให้ระดับออกซิเจนในน้ าลดต่ าลง เกิดภาวะน้ าเน่าเสียมีผลต่อคุณภาพ

                       แหล่งน้ า และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ตามมา จากการประเมินคุณภาพน้ า โดยใช้ดัชนีคุณภาพแหล่งน้ าผิวดิน
                       (Water  Quality  Index:  WQI)   พบว่า คุณภาพน้ าในแหล่งน้ าผิวดินส่วนใหญ่ของประเทศไทย
                       อยู่ในเกณฑ์พอใช้ ร้อยละ 43  รองลงมาอยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 31  และเกณฑ์เสื่อมโทรม ร้อยละ 26
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12