Page 20 - การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของกรมพัฒนาที่ดินในช่วงแผนเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 - 2559)
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                               7




                            นอกจากนี้ ยังมีปัญหาด้านความมั่นคงและความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็น
                  ปัญหาสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและพื้นที่การเกษตร ปัจจุบันสถานการณ์ความไม่สงบใน
                  พื้นที่  5  จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังมีอย่างต่อเนื่อง และเกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงของประเทศ ซึ่งส่งผล

                  กระทบต่อการดําเนินชีวิตประจําวันของประชาชนในพื้นที่และเป็นเหตุฉุดรั้งการพัฒนาในแทบทุกด้าน รวมถึง
                  ด้านการเกษตร อีกทั้ง เกิดภาพลักษณความไม่สงบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนและการท่องเที่ยวในพื้นที่อีกด้วย
                            หากสามารถแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ชายแดนได้อย่างเป็นผลแล้ว การพัฒนา
                  พื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนจะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง เพราะมีพื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านมีด่าน
                  การค้าชายแดนกว่า ๙ แห่ง ทั้งทางบกและทางน้ําสามารถพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน

                  (SpecialBorder Economic Zone : SBEZ) ทั้งสามารถพัฒนาตามกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจของสามเหลี่ยม
                  เศรษฐกิจ เช่น การสร้างระเบียงยางพารา และปาล์มน้ํามัน (Rubber and Oil Palm Corridor) และพัฒนา
                  ความเชื่อมโยงตามระเบียงเศรษฐกิจที่เกิดจากโครงการในกรอบการพัฒนาอนุภาคสามเหลี่ยมเศรษฐกิจได้อย่าง

                  เป็นรูปธรรม

                  ๑.๓ วัตถุประสงค์ของการจัดท าแผนยุทธศาสตร์ฯ


                            วัตถุประสงค์ในการจัดทําแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เกษตรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีดังนี้
                            1.3.1  เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการบริหารจัดการและการดําเนินงานของกรมพัฒนาที่ดินในการ
                  แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

                            1.3.2  เพื่อให้ผู้บริหารกรมพัฒนาที่ดิน ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจวางแผนเพื่อพัฒนาการ
                  ดําเนินงานโครงการให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์และปัญหา รวมทั้งใช้เป็นเครื่องมือในการกํากับ
                  ดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้
                            1.3.3  เพื่อสร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับการดําเนินงานแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดน

                  ภาคใต้ ให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของกรมพัฒนาที่ดิน
                  อย่างมีประสิทธิภาพ
                            1.3.4  เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการนําเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณ และทรัพยากรที่จําเป็นใน

                  การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

                  ๑.๔ ผลส าเร็จของงาน (เชิงปริมาณ/คุณภาพ)

                            ผลสําเร็จของงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เกษตรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แบ่งออกเป็น
                  ผลความสําเร็จของงานในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ดังนี้

                             ๑.๔.๑ ผลส าเร็จของงานในเชิงปริมาณ :

                                   (1)  กรมพัฒนาที่ดิน ได้มีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ในช่วง
                  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการบริหารจัดการ

                  โครงการต่าง ๆ ภายใต้แผนงานแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สอดรับและสนับสนุน
                  ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงของชาติ และสอดคล้องกับแผนพัฒนาด้านการเกษตรมีความเชื่อมโยงกับแผน
                  ยุทธศาสตร์ของกรมพัฒนาที่ดินอย่างบูรณาการ








                    แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของกรมพัฒนาที่ดิน ในช่วงแผนเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559)
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25