Page 18 - การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของกรมพัฒนาที่ดินในช่วงแผนเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 - 2559)
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                               5




                                   ทางด้านคุณภาพน้ําของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน จะประกอบด้วยลุ่มน้ําหลัก 3 ลุ่มน้ํา
                  คือลุ่มน้ําทะเลสาบสงขลา ลุ่มน้ําปัตตานี และส่วนหนึ่งของลุ่มน้ําภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีแหล่งน้ําสําคัญ
                  ประกอบด้วย ทะเลสาบสงขลา แม่น้ําปัตตานี แม่น้ําสายบุรี แม่นํ้าโก-ลก แม่น้ําบางนรา และคลองบําบัง จาก

                  การประเมินคุณภาพน้ําโดยใช้ดัชนีคุณภาพน้ําแหล่งน้ําผิวดินพบว่า ทุกแหล่งน้ํามีคุณภาพน้ําอยู่ในเกณฑ์พอใช้
                  แต่เมื่อพิจารณารายลุ่มน้ําย่อยพบว่าลุ่มน้ําย่อยที่มีความเสื่อมโทรมคือ ลุ่มน้ําย่อยคลองอู่ตะเภาเป็นที่ตั้งของ
                  ชุมชนหนาแน่นระดับเทศบาลนครเทศบาลเมืองและเทศบาลตําบลจํานวนมากถึง ๑๑ แห่ง และองค์การบริหาร
                  ส่วนตําบลอีก ๓๐ แห่ง ซึ่งน้ําเสียจากชุมชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ระบายลงสู่แหล่งน้ําโดยตรง โดยไม่ได้มีการบําบัด
                  ความสกปรกส่งผลให้คุณภาพน้ําเสื่อมโทรมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนมีระบบบําบัดน้ําเสียรวมเพียง

                  ๓ แห่ง ได้แก่ เทศบาลนครสงขลา เทศบาลนครหาดใหญ่ และเทศบาลนครยะลา

                            ๑.๒.๕  ทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม

                                   ทรัพยากรป่าไม้อนุภาคมีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ ๕,๘๔๘ ตารางกิโลเมตร  (คิดเป็นร้อยละ
                  ๒๗.๒๕ ของพื้นที่อนุภาค)  ประกอบด้วย ป่าไม้ ๕ ประเภท ได้แก่ ป่าดิบชื้น ป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าพรุ
                  และป่าที่ฟื้นฟูตามธรรมชาติ โดยป่าดิบชื้นมีพื้นที่ถึง ๓,๖๓๒ ตารางกิโลเมตร กระจุกตัวอยู่บริเวณตอนใต้ของ

                  อนุภาคเป็นพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญของอนุภาคมีพื้นที่ต้นน้ําซึ่งเป็นพื้นที่
                  ชั้นคุณภาพลุ่มน้ํา ๑A ๑B และ ๒ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดยะลา สงขลา และนราธิวาส ตามลําดับ
                                   จากการสํารวจพื้นที่ป่าไม้ของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชในพื้นที่ภาคใต้
                  ตอนล่างฝั่งตะวันออกในปี ๒๕๕๒ พบว่า มีเนื้อที่ป่าไม้เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๔๙ ในขณะที่คดีการบุกรุกพื้นที่ป่า
                  อนุรักษ์ตามกฎหมายลดลง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการบุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ลดลงแต่ก็ยังมีความเสี่ยงต่อการถูก

                  บุกรุกสูงเนื่องจากพื้นที่อนุรักษ์ทุกพื้นที่มีอาณาเขตติดต่อกับชุมชนซึ่งการบุกรุกพื้นที่ป่าส่วนใหญ่เป็นการบุกรุก
                  เพื่อเปลี่ยนจากสภาพป่าเป็นการทําสวนยางพารา

                            ๑.๒.๖  ปัญหาความต้องการและศักยภาพของประชาชนในพื้นที่

                                   ปัญหาความต้องการสําคัญ ๆ ของประชาชนในพื้นที่ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน มีดังนี้

                  ตาราง ๑ - ๑ ปัญหาความต้องการด้านเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติของประชาชนในพื้นที่

                                ปัญหา                    พื้นที่            ความต้องการ/แนวทางแก้ไข
                   ปัญหาด้านการเกษตร
                   ๑.  ขาดแคลนแหล่งน้ําและปัจจัยใน   ปัตตานี และ   -  การบริหารจัดการน้ําเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน
                       ต้นทุนการเกษตรสูง             นราธิวาส

                   ๒.  เกษตรกรชาวสวนยาง ขาดปัจจัยใน  ๕ จชต.        -  ส่งเสริมสนับสนุนปัจจัยการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า
                       การแปรรูปยางพาราในขั้นต้นเพื่อเพิ่ม            ยางพารา
                       มูลค่าสินค้า
                   ๓.  ครัวเรือนยากจน รายได้ไม่พอกับ ยะลา ปัตตานี  -  เพิ่มทักษะการประกอบอาชีพและส่งเสริมอาชีพแก่
                       รายจ่ายและการขาดความรู้ในการ สงขลา และ         ประชาชน
                       ประกอบอาชีพ                   นราธิวาส      -  ส่งเสริมการรวมกลุ่มพัฒนาอาชีพหนึ่งตําบลหนึ่ง
                                                                      ผลิตภัณฑ์
                                                                   -  สนับสนุนการดําเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
                                                                   -  ส่งเสริมการทําบัญชีครัวเรือน





                    แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของกรมพัฒนาที่ดิน ในช่วงแผนเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559)
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23