Page 16 - การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของกรมพัฒนาที่ดินในช่วงแผนเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 - 2559)
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                               3




                            ๑.๒.๒  โครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร

                                   โครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตรประกอบด้วยสาขาเกษตรกรรมฯ และสาขาการประมงมีสัดส่วน
                  ร้อยละ ๔๗ และ ๕๓ ตามลําดับ มีการเพาะปลูกพืชเป็นกิจกรรมหลักที่สําคัญ อัตราขยายตัวของมูลผลิตภัณฑ์
                  มวลรวมตามปริมาณลูกโซ่ภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ ๒.๘๓ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณของผลผลิต
                  ลองกอง การทําฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล การเลี้ยงโคเนื้อ การทําประมงทะเลพาณิชย์  (น้ําลึก)  การทําประมงทะเล

                  ชายฝั่ง และการเลี้ยงไก่เนื้อเป็นสําคัญ สําหรับการผลิตที่หดตัวจากปริมาณผลผลิตที่ลดลงได้แก่ ยางพารา การ
                  เพาะพันธุ์ปลาและกุ้ง การบริการทางการเกษตร การเลี้ยงไก่ไข่ - ไข่ไก่ การปลูกข้าว ตามลําดับ
                                   ภาคเกษตรของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนยังคงมีบทบาทสําคัญในการเป็นแหล่งวัตถุดิบ

                  เพื่อการผลิตสินค้าของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออกขายไปยังต่างประเทศ วัตถุดิบ
                  จากภาคเกษตรได้แก่ ยางพารา ไม้ยาง สัตว์น้ําทั้งสัตว์น้ําธรรมชาติและสัตว์น้ําเลี้ยง โดยมีสินค้าอุตสาหกรรม
                  ประเภทยางแผ่นยางก้อน ผลิตภัณฑ์ยางสินค้าไม้ ผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพารา และสินค้าจากการผลิตและแปรรูป
                  อาหารจากสัตว์ทะเล อย่างไรก็ตาม วัตถุดิบปลาที่ใช้ในการผลิตและแปรรูปในอุตสาหกรรมอาหารทะเล แปรรูป
                  ยังคงต้องนําเข้าจากต่างประเทศโดยเฉพาะปลาทูน่า เนื่องจากวัตถุดิบในประเทศมีน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการ

                  ของภาคอุตสาหกรรม โดยสรุปสาขาการผลิตที่สําคัญของภาคการเกษตรกรรมในพื้นที่ชายแดนจังหวัดภาคใต้
                  ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ํามัน ข้าว ไม้ผลเศรษฐกิจที่สําคัญ ๔ ชนิด ได้แก่ ลองกอง  เงาะ  ทุเรียน  และมังคุด
                  นอกจากนี้ ยังมีปศุสัตว์ การล่าสัตว์ และการป่าไม้


                            ๑.๒.๓  ทรัพยากรดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน

                                   ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินจากข้อมูล ปี 2550 พบว่า อนุภาคมีสัดส่วนพื้นที่เกษตรกรรมสูง

                  ถึงร้อยละ ๕๖.๗๙ รองลงมาคือ กลุ่มพื้นที่อนุรักษ์ได้แก่พื้นที่ป่าไม้ร้อยละ ๒๗.๒๕ กระจุกตัวอยู่ด้านใต้และ
                  ตะวันตกของอนุภาคพื้นที่แหล่งน้ําร้อยละ ๔.๔๙ โดยมีแหล่งน้ําขนาดใหญ่คือ บริเวณทะเลสาบสงขลา และ
                  ทะเลหลวงในจังหวัดสงขลา ส่วนพื้นที่ชุมชนเมืองและอุตสาหกรรมมีรวมกันเพียงร้อยละ ๕.๐๔ โดยพื้นที่เมือง
                  จะกระจุกตัวอยู่ตามเมืองหลักและบริเวณที่ราบตามเส้นทางคมนาคมสายหลักของอนุภาค สําหรับพื้นที่
                  อุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะอยู่ในจังหวัดสงขลาบริเวณเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ (ฉลุง) และมีบางส่วนในจังหวัด

                  ปัตตานี  (อุตสาหกรรมฮาลาล)  เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินพบว่า มีการเปลี่ยนแปลง
                  ไปสู่สังคมเมืองอย่างชัดเจน โดยมีพื้นที่เมืองเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ ๑๓๐.๙๘ และพื้นที่อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ
                  ๑๑๙.๙๘ ในขณะที่พื้นที่เกษตรกรรมซึ่งมีสัดส่วนมากที่สุดมีพื้นที่ลดลงร้อยละ ๑๐.๓๑ จากการใช้ที่ดินในการ

                  ทําเกษตรกรรม จึงมีปัญหาความเสื่อมโทรมของดินเนื่องจากการใช้ที่ดินผิดประเภท และการชะล้างพังทลายของดิน
                  โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างฝั่งตะวันออกเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อดินถล่มซึ่งส่งผลเสียหายต่อชีวิตทรัพย์สิน
                  ผลผลิตทางการเกษตรระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
                                   สําหรับปัญหาด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนุภาคพบว่า ปัจจุบันพื้นที่ที่มีคุณค่าด้าน

                  สิ่งแวดล้อม เช่น พื้นที่ป่าไม้ แหล่งน้ํา และพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวมีแนวโน้มที่จะมีการพัฒนาเกินกว่า
                  สภาพแวดล้อมจะรองรับได้ ส่วนพื้นที่เกษตรกรรมยังมีการผลิตเพื่อเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมในปริมาณต่ําทําให้
                  ไม่เกิดการเพิ่มมูลค่าในการผลิตทางเศรษฐกิจ สําหรับการใช้พื้นที่เมืองพบว่า มีโอกาสในการขยายตัวจํากัด
                  เนื่องจากมีพื้นที่ราบที่ปลอดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติน้อย

                                   ลักษณะใช้ประโยชน์ที่ดินปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ของอนุภาค แบ่งตามการใชประโยชนที่ดินหลัก
                  ๗ประเภทประกอบดวยรายละเอียดต่อไปนี้ (ตามแผนภาพ ๑ - ๒)






                    แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของกรมพัฒนาที่ดิน ในช่วงแผนเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559)
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21