Page 25 - การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของกรมพัฒนาที่ดินในช่วงแผนเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 - 2559)
P. 25

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                              12




                  ๒.๒ แนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี

                            คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
                                                                                                 ๑
                  แห่งชาติ (“สคช.”) (Office of the National Economics and Social Development Board)  รวบรวมไว้ว่า
                  เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการด ารงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว
                  ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ด าเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนา
                  เศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์


                            ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจ าเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกัน
                  ในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน  ทั้งนี้จะต้องอาศัย
                  ความรอบรู้ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการน าวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการ
                  ด าเนินการทุกขั้นตอน  ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ  นักทฤษฎี  และนัก
                  ธุรกิจในทุกระดับ ให้ส านึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต ให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมด าเนินชีวิต

                            2.2.๑   เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถของชุมชน เมือง รัฐ ประเทศ หรือภูมิภาคหนึ่งๆใน
                  การผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดเพื่อเลี้ยงสังคมนั้นๆได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยต่าง ๆ ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ
                            2.2.๒   เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคล คือ ความสามารถในการด ารงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มี
                  ความเป็นอยู่อย่างประมาณตนตามฐานะอัตภาพ และที่ส าคัญไม่หลงใหลไปตามกระแสของวัตถุนิยม มีอิสรภาพ

                  เสรีภาพ ไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใด โดยสรุปคือ ยึดเส้นทางสายกลางในการด ารงชีวิต
                                   นอกจากนี้ สศช.ได้ระบุคุณลักษณะของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนภาพข้างล่าง ดังนี้
                                         (1)  ความพอประมาณหมายถึ ง ความพอดีต่อความจ าเป็นและเหมาะสมกับฐานะของ

                  ตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น และต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
                                         (2)  ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจด าเนินการเรื่องต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลตาม
                  หลักวิชาการหลักกฎหมาย หลักศีลธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรมที่ดีงาม โดยค านึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่าง
                  รอบคอบ
                                         (3)  ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีหมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการ

                  เปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม  เพื่อให้สามารถปรับตัวและรับมือได้อย่างทันท่วงที
                                         (4)  เงื่อนไขคุณธรรมหลักวิชาและเงื่อนไขชีวิต เป็นเงื่อนไขพื้นฐานส าคัญเพื่อให้เกิด
                  ความพอเพียงการตัดสินใจและด าเนินกิจกรรมต่าง ๆ

                                         (5)  เงื่อนไขคุณธรรมเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ ให้มีความซื่อสัตย์สุจริต
                  รู้รักสามัคคี ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ และรู้จักแบ่งปันให้ผู้อื่น
                                         (6)  เงื่อนไขหลักวิชาอาศัยความรอบรู้รอบคอบ และระมัดระวังอย่างยิ่งในการน า
                  วิชาการต่าง ๆ มาใช้วางแผนและด าเนินการทุกขั้นตอน

                                         (7)  เงื่อนไขชีวิตด าเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียรมีสติและปัญญาบริหาร
                  จัดการการใช้ชีวิต โดยใช้หลักวิชาและคุณธรรมเป็นแนวทางพื้นฐาน





                     ๑
                           คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, ISBN ๙๗๘-๙๗๔-๙๗๖๙-๗๗-๕.
                  พิมพ์ครั้งที่ ๑: ธันวาคม ๒๕๕๐.

                    แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของกรมพัฒนาที่ดิน ในช่วงแผนเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559)
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30