Page 12 - แนวทางการบริหารจัดการเขตการใช้ที่ดินสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม(Zoning)ในส่วนของเศรษฐกร
P. 12
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2-3
พฤศจิกายน 2556 มีมติแต่งตั้งคณะทํางานขับเคลื่อนโครงการ flagship จํานวน 3 คณะ ตามคําสั่ง
คณะกรรมการที่ 1/2556 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ประกอบด้วย คณะทํางานโครงการบริหาร
จัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจสําหรับสินค้าเกษตรที่สําคัญ คณะทํางานโครงการพัฒนาเกษตรกร
ปราดเปรื่อง และคณะทํางานโครงการส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรทดแทนแรงงานเกษตร
โดยคณะทํางานโครงการบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจสําหรับสินค้าเกษตรที่สําคัญ
มีรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์) เป็นประธาน ผู้อํานวยการ สํานัก/
กองด้านแผนงาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นคณะทํางาน
ผู้อํานวยการสํานักแผนงานและโครงการพิเศษผู้อํานวยการกองบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นคณะทํางาน
และเลขานุการร่วม มีอํานาจหน้าที่บูรณาการจัดทําแผนปฏิบัติการ แผนงบประมาณ และขับเคลื่อนการ
ดําเนินงานตามโครงการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจสําหรับสินค้าเกษตรที่สําคัญให้เกิดการดําเนินงาน
อย่างบูรณาการ เกิดผลสําเร็จเป็นรูปธรรม
2.2) คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ได้แต่งตั้ง
คณะอนุกรรมการบริหารการผลิตกลุ่มสินค้าเกษตร จํานวน 11 คณะ คือ คณะอนุกรมการบริหารการผลิต
กลุ่มสินค้าข้าว กลุ่มสินค้าอ้อย สับปะรด และพืชไร่อื่นๆ กลุ่มสินค้ามันสําปะหลัง และปาล์มนํ้ามัน
กลุ่มสินค้าประมง กลุ่มปศุสัตว์ กลุ่มสินค้ายางพารา กลุ่มสินค้าผลไม้ กลุ่มสินค้าสําไย กลุ่มสินค้ากล้วยไม้
ไม้ดอกไม้ประดับ กลุ่มสินค้าพืชหัว และกลุ่มสินค้าพืชผัก มีอํานาจหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลสินค้า
เกษตรทั้งภาพรวม และกําหนดแนวทางเพื่อวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
รวมทั้งประสานการดําเนินงานให้เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดและจังหวัด เพื่อขับเคลื่อน
แนวทางพัฒนาสินค้าเกษตร
2.3) มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมของประเทศ เพื่อให้มี
อํานาจหน้าที่ตรวจสอบ กลั่นกรอง ประมวลข้อเสนอ แผนงาน/โครงการ เพื่อรองรับการบริหารจัดการ
พื้นที่เกษตรกรรม และสนับสนุนการผลิตของเกษตรกร
3 กลไกการทํางานของจังหวัด
กระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้ทุกจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการใช้
ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตรกรรมของจังหวัด เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดินด้าน
การเกษตรไปสู่การปฏิบัติ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน โดยใช้ข้อมูลตามประกาศเขตพื้นที่
เหมาะสมสําหรับผลิตสินค้าพืช ปศุสัตว์ และประมง ประกอบการจัดทําโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ
การผลิตในเขตพื้นที่เหมาะสมและโครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม ส่งให้
ส่วนกลาง ซึ่งถือเป็นการจัดทําโครงการตามความต้องการของพื้นที่ (bottom-up) ที่สอดคล้องกันผล
การวิเคราะห์เขตความเหมาะสมในการผลิตสินค้าเกษตรที่สําคัญ