Page 10 - แนวทางการบริหารจัดการเขตการใช้ที่ดินสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม(Zoning)ในส่วนของเศรษฐกร
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน









                                                         บทที่ 2

                               ความเป็นมาของการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning)




                        การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมสําหรับสินค้าเกษตรที่สําคัญ เป็นนโยบายในการจัดการ และ
                  ใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความสําคัญ

                  มาโดยตลอด ในรัฐบาลที่ผ่านมาได้กําหนดเป้าหมายการปฏิรูปภาคการเกษตรกรรมของประเทศ (Agriculture

                  Revolution) โดยมีกรอบแนวคิดสําคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนา คือ Zoning = Area + Commodity +
                  Human Resource กล่าวคือ การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินของ

                  ประเทศให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด ต้องอาศัยปัจจัยหลัก ทั้ง 3 ด้าน คือด้านพื้นที่และ

                  ทรัพยากร (Area & Resource) ด้านสินค้า (Commodity) และด้านคน (Human Resource Smart Farmer &

                  Smart Officer) ร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวให้ประสบความสําเร็จ ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรและ
                  สหกรณ์ ได้ออกประกาศ เรื่อง การกําหนดเขตเหมาะสมสําหรับสินค้าที่สําคัญ ประกอบด้วย พืช ปศุสัตว์

                  และประมง ในระหว่างวันที่ 5 กุมภาพันธ์ – 9 พฤษภาคม 2556 พร้อมทั้งจัดทําแผนที่ประกอบ จํานวน 20

                  ชนิดสินค้า ได้แก่ ด้านพืช 13 ชนิดพืช ประกอบด้วย ข้าว มันสําปะหลัง ยางพารา ปาล์มนํ้ามัน อ้อยโรงงาน
                  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สับปะรดโรงงาน ลําไย เงาะ ทุเรียน มังคุด มะพร้าว และกาแฟ ด้านปศุสัตว์ 5 ชนิด

                  ประกอบด้วย โคนม โคเนื้อ สุกร ไก่เนื้อ และไก่ไข่ ด้านประมง 2 ชนิด ประกอบด้วย กุ้งทะเล และสัตว์นํ้าจืด

                  โดยหลักของการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เป้ าหมายที่สําคัญ คือ ต้องการปรับสมดุล Demand Supply

                  ของสินค้าเกษตรในแต่ละพื้นที่ ในการประกาศเขตเหมาะสมในการปลูกพืช ปศุสัตว์ และประมง จะอาศัย
                  ข้อมูลทางวิชาการ ศักยภาพ กายภาพในพื้นที่ ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภูมิอากาศ ดิน นํ้า ความชื้น

                  แสงแดด สภาพแวดล้อม ด้านต่างๆ นํามาประกอบกับข้อมูล พืช สัตว์ ประมง ในแต่ละชนิด รวมทั้ง

                  วิเคราะห์ร่วมกับความต้องการของตลาด เพื่อหาความเหมาะสมของการทําการเกษตรในแต่ละพื้นที่
                  ทําให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตสูง ซึ่งจะทําให้เกษตรกร มีผลกําไรที่สูงกว่าการทําการเกษตรในพื้นที่

                  ไม่เหมาะสม โดยรัฐบาลมีมาตรการสนับสนุน จูงใจ ให้ข้อมูล และคําแนะนําทางวิชาการแก่เกษตรกร

                  ในการปรับเปลี่ยนการทําการเกษตร ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า เป็นความสมัครใจ และความพึงพอใจของเกษตรกร
                  เป็นหลัก ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการบูรณาการ ร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย ในการ

                  ขับเคลื่อนนโยบายในระดับจังหวัด แต่จากการขับเคลื่อนนโยบายในระยะเริ่มต้น ก็พบกับปัญหาอุปสรรค

                  ในการดําเนินการพอสมควร ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ของการขับเคลื่อน
                  นโยบายต่างๆ โดยเฉพาะความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ กระบวนการ ขั้นตอนในการขับเคลื่อนนโยบาย

                  ดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนนโยบายตามกรอบแนวคิด Zoning = Area + Commodity + Human

                  Resource สามารถนําไปใช้เป็นหลักการในการพัฒนา ด้านการเกษตรในพื้นที่ได้ในทุกนโยบาย ไม่ว่าในอนาคต
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15