Page 14 - แนวทางการบริหารจัดการเขตการใช้ที่ดินสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม(Zoning)ในส่วนของเศรษฐกร
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน









                                                         บทที่ 3

                                 กรอบแนวคิดและหลักการสําคัญของนโยบาย Zoning




                        การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) มีเป้ าประสงค์ในการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร

                  ตามความเหมาะสมของพื้นที่ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ลดต้นทุนและเพิ่ม

                  ประสิทธิภาพการผลิต นอกจากนี้ยังช่วยแก้ปัญหา เรื่องของผลผลิตสินค้าเกษตรหลายชนิดที่มีมาก
                  เกินความต้องการของตลาด ทําให้ประสบภาวะราคาตกตํ่า เกิดภาระด้านงบประมาณให้กับภาครัฐที่ต้อง

                  เข้าไปช่วยเหลือแทรกแซงราคา รวมทั้งเกิดการร้องเรียน โดยการปิดเส้นทางคมนาคม ทําให้ประชาชน

                  ทั่วไปเดือดร้อน

                        แนวคิดในการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม ดําเนินการภายใต้นโยบายของรัฐบาลในการจัดการ
                  และใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศ

                  เขตเหมาะสมสําหรับการผลิตสินค้าเกษตร ทั้งด้านพืช ด้านปศุสัตว์ และด้านประมง โดยในการประกาศ

                  เขตเหมาะสมของการผลิตสินค้าเกษตร ได้คํานึงถึงปัจจัยธรรมชาติที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ดิน นํ้า อากาศ
                  แสงแดด ความชื้นสัมพันธ์ (Land suitability) และระดับความต้องการของพืช (Crop Requirement)

                  การผลิตสินค้าเกษตรในปัจจุบัน (Existing Land Use) หรือเงื่อนไขสําหรับการผลิตอื่นๆ เช่น เป็นพื้นที่

                  ปลอดโรค เป็นต้น ในการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม นอกจากคํานึงถึงเขตการผลิตที่เหมาะสมแล้ว

                  ยังต้องพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวข้อง คือ การปรับรูปแบบการผลิตในเขตเหมาะสมเล็กน้อยและไม่เหมาะสม
                  เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการผลิตและการตลาด การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การเพิ่มมูลค่าด้วย

                  การพัฒนามาตรฐานสินค้า และลดต้นทุน ด้วยการจัดระบบขนส่งสินค้า (Logistics) เป็นต้น

                        หลักของการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่ต่างๆ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) พื้นที่ (Area)
                  2) พืช ปศุสัตว์ ประมง ที่เหมาะสมกับพื้นที่ (Commodities) และ 3) เกษตรกร ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่

                  ของรัฐ (Human Resource) โดยใช้ตลาดเป็นตัวชี้นําในการส่งเสริมการผลิต ซึ่งตั้งเป้ าหมายว่า ผลิต

                  ออกมาแล้วต้องขายได้ในราคาที่เกษตรกรอยู่ได้ และมีเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
                  เป็นผู้ให้คําแนะนําและประสานงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องภายในพื้นที่ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน

                  เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

                        กรอบแนวคิด Zoning = Area + Commodity + Human Resource มีสาระสําคัญ คือ การขับเคลื่อน
                  นโยบายการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) ในพื้นที่หนึ่งให้ประสบความสําเร็จต้องอาศัย

                  ความพร้อมของปัจจัยหลัก 3 ด้านในการขับเคลื่อน ประกอบด้วย การบริหารจัดการพื้นที่และทรัพยากร

                  ที่เหมาะสม ผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของตลาด รวมทั้งการมีบุคคลากรด้านการเกษตรทั้งเกษตรกร
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19