Page 8 - แนวทางการบริหารจัดการเขตการใช้ที่ดินสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม(Zoning)ในส่วนของเศรษฐกร
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           1-3





                     1)  ต้นทุนผันแปร (Variable costs) หมายถึงต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณของผลผลิต คือ

                  เป็นปัจจัยการที่ผู้ผลิตสามารถเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้ได้ในช่วงระยะเวลาการผลิตหนึ่งๆ ได้แก่ ผลรวม

                  ของค่าใช้จ่ายในการการเตรียมดิน ดูแลรักษา เก็บเกี่ยว ขนย้าย และแปรรูปเบื้องต้นก่อนขาย ค่าวัสดุ
                  และปัจจัยการผลิต เป็นต้น ต้นทุนผันแปร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ต้นทุนผันแปรที่เป็นเงินสด

                  และไม่เป็นเงินสด

                           ก.  ต้นทุนผันแปรที่เป็นเงินสด หมายถึงต้นทุนผันแปรที่ผู้ผลิตจ่ายออกไปจริงเป็นเงินสด เช่น

                  ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ ย และค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น
                           ข. ต้นทุนผันแปรที่ไม่เป็นเงินสด หมายถึงต้นทุนผันแปรที่ผู้ผลิตไม่ได้จ่ายออกไปจริงเป็น

                  เงินสด ซึ่งเป็นค่าปัจจัยการผลิตต่างๆ ทั้งที่เป็นของผู้ผลิตเอง เช่น ค่าเมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้เอง และที่ผู้ผลิต

                  ต้องหามาและใช้จ่ายไปในรูปของสิ่งของหรือค่าแรงงานในครัวเรือน เป็นต้น

                    2)  ต้นทุนคงที่ (Fixed costs) หมายถึงต้นทุนการผลิตที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณของผลผลิต
                  กล่าวคือ ไม่ว่าจะผลิตผลผลิตเป็นปริมาณเท่าไรก็ตาม ผู้ผลิตจะต้องเสียต้นทุนในจํานวนที่คงที่ ซึ่งเป็น

                  ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้ปัจจัยคงที่ในการผลิต คือ เป็นปัจจัยการผลิตที่ผู้ผลิตไม่สามารถเปลี่ยนแปลง

                  ปริมาณการใช้ได้ในช่วงระยะเวลาของการผลิต เช่น เนื้อที่เพาะปลูก และอุปกรณ์การเกษตร เครื่องทุน
                  แรงต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังแบ่งต้นทุนคงที่ออกได้อีก 2 ประเภท คือ

                           ก.  ต้นทุนคงที่ที่เป็นเงินสด หมายถึงค่าใช้จ่ายที่ผู้ผลิตจะต้องจ่ายในรูปของเงินสด ในจํานวน

                  คงที่ เช่น ค่าเช่าที่ดิน ค่าภาษีที่ดิน เป็นต้น
                           ข.  ต้นทุนคงที่ที่ไม่เป็นเงินสด หมายถึงค่าใช้จ่ายจํานวนคงที่ที่ผู้ผลิตไม่ได้จ่ายออกจริงในรูป

                  ของเงินสดหรือเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ประเมิน เช่น ค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์การเกษตร

                  และค่าใช้ที่ดิน กรณีเป็นที่ดินของตนเองแต่ประเมินตามอัตราค่าเช่าที่ดินในท้องถิ่นนั้น (รายละเอียด
                  การวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุน ผลตอบแทน ในภาคผนวกที่ 4)

                   3.4 พิจารณาเปรียบเทียบรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูงและเหมาะสม

                  ปานกลาง (S1 และ S2) กับพื้นที่ที่มีความเหมาะสมเล็กน้อยและไม่เหมาะสม (S3 และ N) โดยการเปรียบเทียบ

                  ต้นทุน และผลตอบแทนของการผลิตสินค้าเกษตร เพื่อใช้เป็นแนวทางเลือกให้เกษตรกรตัดสินใจใน
                  การผลิตสินค้าเกษตรในอนาคตที่จะทําให้ได้รับผลตอบแทนที่ดีที่สุด สามารถยกระดับรายได้ของ

                  เกษตรกรให้สูงขึ้น

                   3.5 จัดทําแนวทางการบริหารจัดการเขตการใช้ที่ดินสําหรับพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) โดยเขียน
                  บรรยายเชิงพรรณาพร้อมประกอบตาราง
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13