Page 16 - แนวทางการบริหารจัดการเขตการใช้ที่ดินสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม(Zoning)ในส่วนของเศรษฐกร
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           3-3





                     การให้ได้มาของข้อมูลที่สําคัญดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขอความร่วมมือให้

                  หน่วยงานในและนอกสังกัดกระทรวง โดยเฉพาะหน่วยงานในระดับจังหวัดดําเนินการสํารวจ รวบรวม

                  ตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจากในพื้นที่มาเป็นระยะ ซึ่งการบริหารจัดการข้อมูลดังกล่าวมีความสําคัญ
                  และส่งผลต่อความสําเร็จในการขับเคลื่อนนโยบาย Zoning เป็นอย่างมาก ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ จะเป็น

                  ปัจจัยในการพิจารณากําหนดมาตรการ โครงการ กิจกรรม เพื่อพัฒนาการเกษตรให้ตรงตามศักยภาพและ

                  เหมาะสมกับพื้นที่ให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาตามกรอบแนวคิด Zoning = Area + Commodity +

                  Human Resource ซึ่งต้องมีการบูรณาการนโยบายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยเฉพาะการพิจารณาความเชื่อมโยง
                  ของกรณีที่พบจากข้อมูล ข้อเท็จจริงในพื้นที่และข้อมูลจากส่วนกลางทั้งด้านพื้นที่และทรัพยากร (Area &

                  Resource) ด้านสินค้า (Commodity) และด้านทรัพยากรบุคคลกร (Human Resource : Smart Farmer &

                  Smart Officer) โดยจับคู่กรณีต่างๆ แล้วกําหนด โครงการ/กิจกรรม แนวทางการตอบสนองต่อกรณี รวมทั้ง

                  ช่วงเวลาในการดําเนินการที่เหมาะสม เป็นต้น

                     ขั้นตอนการจัดทําเขตเหมาะสมสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ

                     การกําหนดเขตความเหมาะสมสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจและการจัดทําบัญชีแนบท้าย
                  ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใช้ฐานข้อมูลต่างๆ ในการวิเคราะห์โดยมีขั้นตอนการดําเนินงาน

                  ดังนี้

                     1.  ใช้ข้อมูลสมบัติดิน (Soil property) จากแผนที่ดิน (soil map) ได้แก่ เนื้อดิน การระบายนํ้าของดิน
                  ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของพืช (CEC) ความอิ่มตัวด้วยด่าง (BS)

                  ความลึกของดิน ปริมาณกรวด ค่าการนําไฟฟ้ าของดิน ความลึกของชั้นจาโรไซด์ ปฏิกิริยาดิน (pH) ความ

                  ลาดชัน เป็นต้น เพื่อประเมินความเหมาะสมทางกายภาพของที่ดิน (soil suit) โดยใช้ระดับความต้องการ

                  ปัจจัยต่อการเจริญเติบโตของพืช (crop requirement) ดังนี้ ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (m) ความเป็น
                  ประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (o) ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (s) สภาวะการการหยั่งลึกของราก (r)

                  ความเสียหายจากนํ้าท่วม (f) การมีเกลือมากเกินไป (x) สารพิษ (z) ศักยภาพการใช้เครื่องจักร (w) ความเสียหายจาก

                  การกัดกร่อน (e) เป็นต้น แบ่งชั้นความเหมาะสมออกเป็นชั้นที่มีความเหมาะสมสูง (S1) ชั้นที่มีความเหมาะสม
                  ปานกลาง (S2) ชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) ชั้นที่ไม่มีความเหมาะสม (N)

                    2.  นําเข้าข้อมูลความเหมาะสมทางกายภาพของที่ดิน (soil suit) ร่วมกับแผนที่ดิน (soil map)

                  ได้เป็นแผนที่ความเหมาะสมทางกายภาพของที่ดิน (soil suit map)

                    3.  ซ้อนทับแผนที่เหมาะสมทางกายภาพของที่ดิน (soil suit map) กับเส้นชั้นนํ้าฝน (isohyet map)
                  เพื่อประเมินความเหมาะสมของที่ดินด้านความต้องการนํ้า ได้เป็นแผนที่ความเหมาะสมของที่ดิน

                  (land suit map)
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21